ReadyPlanet.com
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
dot
PLCนวัตกรรม
bulletระบบประกันคุณภาพออนไลน์
bulletfacebook.com - kruthai40
dot
dot


กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ
มรดกไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียน DLIT
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ
gotoknow:kruthai40


เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี ปี52 รางวัลเกียรติยศแห่งวิชาชีพครู

                                                                             แด่    ศ.ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
ศ.ฐะปะนีย์  นาครทรรพ

"ครูผู้สร้างคนดี ปัญญาเลิศ ศิษย์ขอเทิด  ศรัทธาบูชาครู"      จากศิษย์ ๒๗ /๐๙/๒๐๐๙
จากวันนั้นถึงวันนี้ หนทางอันยาวไกลพิสูจน์จิตวิญญาณความเป็นครู

 

ฐะปะนีย์ นาครทรรพ

 

 

       “ครูควรมีหน้าที่ในการพัฒนาอาชีพครู เพราะว่าครูจะต้อง เป็นผู้ที่ได้รับการฝึกฝนให้เป็นผู้มีความสามารถระดับสูงในการปฏิบัติงาน กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีความสามารถทางปัญญาความคิด ทางมนุษยสัมพันธ์ และทางทักษะต่าง ทักษะในการสอนของครูจึงต้องมีการปรับปรุงให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการ เพราะความมุ่งหวังที่คนมีต่อสถาบันการศึกษาย่อมเปลี่ยนแปลงไป ความรู้ใน สาขาวิชาภาษาต่าง ๆ ที่ขยายตัวออกไป และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นเครื่องบังคับให้หน่วยงานทางการศึกษา หรือโรงเรียนต้องรีบจัดให้ครูพัฒนา ตัวเองอยู่ตลอดเวลา จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งของพฤติกรรมการนิเทศ ซึ่งจะเป็น เครื่องมือช่วยส่งเสริมคุณภาพของการสอนให้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 รางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี 

ประจำปี ๒๕๕๒ จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา


 . สภาพปัญหาแนวคิด หรือแรงจูงใจในการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ 

 เนื่องจากรางวัลที่ได้รับ คือ รางวัลเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ คุรุสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒ จากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เกินห้วงกรอบเวลาที่ ก.ค.ศ. กำหนด จึงขอแสดงให้เห็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ข้าพเจ้าเริ่มรับราชการจนกระทั่งระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ – ๒๕๕๙ ดังนี้

ด้วยปัญหาของการเรียนการสอนเรื่อง การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓   ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านวุฒิปัญญาซึ่งอาจส่งผลถึงการสร้างความเข้าใจเนื้อเรื่องในขณะอ่านทำให้ไม่เกิดความคิดในเชิงวิจารณญาณได้ด้วยตนเองจากการวิจัยของ สุรินทร์  ยิ่งนึก ( ๒๕๔๐ )     ที่ได้ทำการวิจัยเชิงทดลองซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ      วรรณคดี เรื่อง   สามก๊ก   ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของโรงเรียนบางซ้ายวิทยา   ปีการศึกษา  ๒๕๓๙ จำนวน   ๑๒๐  คน  ซึ่งได้จากตัวอย่างประชากรทั้งสิ้น   ๑๖๐  คน    ในขั้นแรกผู้วิจัยได้ให้นักเรียนทั้งหมดทำแบบทดสอบวัดวุฒิปัญญา   ที่สร้างขึ้นตามเกณฑ์ ของ Binet & Wechsler   ซึ่งปรับใช้กับภาษาไทยโดย สุนันทา  มั่นเศรษฐวิทย์ ( ๒๕๓๑เพื่อวัดระดับความสามารถทางภาษา จากนั้นผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เลือกกลุ่มตัวอย่างที่มี ระดับวุฒิปัญญาสูง   ๔๐  คน    วุฒิปัญญาปานกลาง   ๔๐    คน    ระดับวุฒิปัญญาต่ำ  ๔๐  คน   แล้วจึงแบ่งนักเรียนทั้ง ๓ ระดับ เป็น    กลุ่ม ๆ  ละ  ๖๐  คน   โดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายให้แต่ละกลุ่ม    ประกอบด้วยระดับวุฒิปัญญาสูง ๒๐ คน ระดับวุฒิปัญญาปานกลาง  ๒๐  คน ระดับวุฒิปัญญาต่ำ  ๒๐  คน จากนั้นจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย   ให้กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณเรื่อง สามก๊ก  ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ตามรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด และให้กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุม  อ่านวรรณคดีโดยไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่าน    ต่อจากนั้นผู้วิจัยจึงให้นักเรียนทั้งสองกลุ่มทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  แล้วตรวจผลการสอบ   รวบรวมคะแนนมาวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติ  เพื่อทดสอบสมมติฐานของการวิจัย     และข้อค้นพบอื่น ๆ   ด้วยการหาค่าเฉลี่ยของคะแนน  ( )    ค่าความแปรปรวน ()    ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม   โดยการทดสอบค่า    t ( t - test )   แบบ Independent    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของกลุ่มทดลอง ที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่อง

แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ   .๐๑    โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม  ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาสูงที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่าน     ไม่แตกต่างกับผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาสูงที่ไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ.   ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาปานกลาง    ที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่าน   แตกต่างกับผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาปานกลาง   ที่ไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๕  โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม                    ผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  ของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาต่ำ  ที่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่อง ในการอ่าน  แตกต่างกับผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ   ของนักเรียนที่มีระดับวุฒิปัญญาต่ำ      ที่ไม่ใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่องในการอ่านวรรณคดีอย่างมีวิจารณญาณ     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑  โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับ การใช้วิธีการนำเรื่องในรูปแบบต่าง ๆ    เพื่อพัฒนาผู้เรียนที่แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ตามความสามารถทางภาษา ผลการวิจัย สรุปได้ว่า การนำเรื่องที่ใช้ในกลุ่มทดลองส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุม  โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาต่ำ    ต้องการวิธีการนำเรื่องที่จัดขึ้นเพื่อช่วยเหลือก่อนการอ่าน  หรือการศึกษาข้อความที่มีรายละเอียดมาก ๆ  ส่วนกลุ่มที่มีความสามารถทางภาษาสูงจะรับความรู้ใหม่ได้โดยความสามารถที่มีอยู่ในตัวเอง   การนำเรื่องจะมีอิทธิพลน้อยกว่า ( Ausubel and Fitzgerald ๑๙๖๑ : ๒๖๖๒๗๘ ; ๑๙๖๒ :   ๒๔๓๒๔๙ ; Maher  ๑๙๗๕ : ๒๖๑๖ - A  ; Lawton ๑๙๗๗ : ๒๕ - ๔๓ )

 ดังนั้นข้าพเจ้าจึงต้องการศึกษาผลของการใช้ รูปแบบการสอนอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่เกิดขึ้นภายในสมองของผู้เรียนแต่ละคน และมุ่งเน้นการใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนที่วิจัยและพัฒนาขึ้นทั้งนี้จากผลการวิจัยเมื่อ ปีการศึกษา ๒๕๓๙   ( สุรินทร์ ยิ่งนึก : ๒๕๔๐ ) ทำให้ผู้วิจัยเชื่อมั่นว่า   นักเรียนทุกคนจะได้รับการพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ทั้งนี้เป็นเพราะสื่อนำเรื่องก่อนการอ่านจะช่วยในการปรับโครงสร้างระบบความคิดให้เท่าเทียมกัน  หรือให้ใกล้เคียงกันมากที่สุด    การจัดกิจกรรมอื่น ๆ   ตามกระบวนการเรียนรู้   เช่น   กระบวนการกลุ่ม     ที่ต้องอภิปรายแสดงความคิดเห็น  กระบวนการเรียนรู้ความคิดรวบยอด   กระบวนการเรียนรู้ภาษา  ฯลฯ  จะราบรื่นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 รวมทั้งการผลิตสื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ      และมุ่งหวังพัฒนารูปแบบการสอนที่ตอบสนองกระบวนการเรียนรู้  ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. ๒๕๔๒    ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษา  ขั้นตอนการสร้างรูปแบบการสอน  ความรู้เรื่องกระบวนการคิดและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ    การใช้สื่อนำเรื่อง  เพื่อวิจัยและพัฒนาต่อยอดสร้างเป็นสื่อนำเรื่องประเภทหนึ่งที่ครูสามารถจัดเตรียมผลิตและจัดหาได้ไม่ยากนัก     เพื่อวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณวิชาภาษาไทยต่อไป               

. วิธีการจัดทำผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ 

การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  รายวิชา ท ๔๐๒๑๐  การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ประกอบด้วยขั้นตอนการวิจัย       ขั้นตอน คือ

      ขั้นตอนที่ ๑  การสร้างรูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบการสอน  มีขั้นตอนย่อย ดังนี้

                                      ขั้นที่  ๑     การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบการสอน

                ขั้นที่       การสร้างรูปแบบการสอน

                ขั้นที่       การจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบการสอน

                ขั้นที่       การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบ

                              รูปแบบการสอน

                ขั้นที่       การทดลองนำร่อง

                ขั้นที่       การแก้ไขปรับปรุง

       ขั้นตอนที่ ๒   การทดลองใช้รูปแบบการสอน มีขั้นตอนย่อย  ดังนี้

                ขั้นที่       การจัดเตรียมนักเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่าง

                ขั้นที่       การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล

                ขั้นที่       การดำเนินการทดลอง

                ขั้นที่       การวิเคราะห์ข้อมูล

   ดังจะกล่าวตามลำดับขั้นตอนแต่ละขั้น ดังนี้

  ขั้นตอนที่ ๑   การสร้างรูปแบบการสอนและการจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบ

การสอน  มีขั้นตอนตามลำดับดังนี้

   ขั้นที่ ๑   การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบการสอน  โดยผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลดังนี้
                         ๑.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการสอนเพื่อนำมาเป็นพื้นฐานในการกำหนดองค์ประกอบ และแนวทางในการพัฒนารูปแบบการสอน
                         ๑.๒ ข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  ระดับของการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ   ความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการอ่าน เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน                                      
                         ๑.๓ ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สื่อนำเรื่องในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
  ผลการวิจัยเชิงทดลองของ นายสุรินทร์  ยิ่งนึก ( 2540 ) เรื่องผลการใช้สื่อวีดิทัศน์นำเรื่อง ในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่เพื่อนำมาพัฒนาสื่อนำเรื่องประกอบการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

     ๑.๔  ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อ

นำมาใช้ในการกำหนดองค์ประกอบรูปแบบการสอน    ในการศึกษาข้อมูลด้านต่าง ๆ  เหล่านี้ ใช้การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา บทความ และงานวิจัยต่าง ๆ นำมาศึกษาวิเคราะห์ และสรุปสาระสำคัญเพื่อนำมาใช้กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน

     ๑.๕  ข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในวิชาภาษาไทย

ที่เกี่ยวกับการอ่าน และวิเคราะห์หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการสร้างรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตร

    ๑.๖  ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหาการสอนด้านภาษาไทย โดยได้ศึกษาจากข้อมูลผลการวิจัย     รายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนอ่านภาษาไทย     รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษา ของกรมวิชาการ     ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ     นำมาวิเคราะห์ และสรุปสาระสำคัญเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาการสอนภาษาไทย ระดับต่าง ๆ เทียบเคียงกับปัญหาการจัดการเรียนการสอนของผู้วิจัย    ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการใช้กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน

   ขั้นที่     การสร้างรูปแบบการสอน 

   รูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เป็นรูปแบบการสอนที่ได้พัฒนาขึ้นโดยนำแนวคิดเกี่ยวกับการใช้สื่อนำเรื่องก่อนการอ่านวรรณกรรม     ทฤษฎีการจัดระบบโครงสร้างความคิดล่วงหน้า   ( Advance Organizers )  ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ในการสร้างรูปแบบการสอน ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้

๑.      นำข้อมูลสาระสำคัญที่ได้จากการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานทั้งในด้านทฤษฎีและแนวคิดมาพิจารณา

๒.      กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบการสอน ซึ่งประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมายเนื้อหา  กระบวนการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล  รวม      ทั้งเขียนอธิบายรายละเอียดแต่ละองค์ประกอบ จัดเรียบเรียงลำดับองค์ประกอบ เพื่อจัดทำรูปแบบการสอนฉบับร่าง

๓.      เมื่อได้รูปแบบการสอนฉบับร่างแล้วจึงนำไปตรวจสอบคุณภาพจากครูผู้สอนวิชา

ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔  ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต ๒

ขั้นที่     การจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบการสอน

เป็นการเตรียมเอกสารต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นคำอธิบายรูปแบบการสอนที่สร้างขึ้น  เอกสารประกอบรูปแบบการสอน ประกอบด้วย

๑.      คำแนะนำการใช้รูปแบบการสอน   เพื่อให้ครูผู้ใช้รูปแบบการสอนมีความเข้าใจและสามารถนำรูปแบบการสอนไปใช้ได้ ในเอกสารกล่าวถึงสิ่งที่ครูต้องศึกษา วิธีการปฏิบัติ การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้กล่าวไว้ในรูปแบบการาสอน

๒.      แผนการสอนเป็นเอกสารสำหรับครูผู้สอน ผู้วิจัยได้กำหนดให้มีองค์ประกอบต่าง ๆ

ครบถ้วนสอดคล้องตามหลักการของรูปแบบการสอน ประกอบด้วย แนวคิดสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน สื่ออุปกรณ์และการวัดผลประเมินผล

ในการจัดทำแผนการสอน ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอน  ดังนี้

๑.      พิจารณาหลักการ  องค์ประกอบของรูปแบบการสอน เพื่อนำมาสร้างแผนการสอนให้สอดคล้องเหมาะสม

๒.      ศึกษาทฤษฎีการจัดระบบโครงสร้างความคิดล่วงหน้า  การใช้สื่อนำเรื่องก่อนการอ่าน

วรรณกรรม เพื่อนำมากำหนดเป็นกรอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

๓.      เรียบเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการของรูปแบบการสอนเป็นสำคัญ

                   ๔.    เขียนแผนการสอน และตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมเพื่อให้ได้แผนการสอนที่สมบูรณ์ ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ หลักการ องค์ประกอบของรูปแบบการสอนแผนการสอน

 ที่จัดทำขึ้น จำนวน    แผน ใช้เวลา   ๑๔  คาบเรียน   โดยใช้เนื้อหาในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยชุดทักษสัมพันธ์ เล่ม ๓  ภาคเรียนที่ ๒  ปีการศึกษา  ๒๕๔๔    ในแผนการสอนใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  

ขั้นที่     การตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน ดำเนินการดังนี้ 

๑.      การสร้างเครื่องมือประเมินรูปแบบ และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน ๑  ฉบับ มี
    ขั้นตอนการสร้างดังนี้

              ๑.กำหนดจุดประสงค์การประเมิน
              ๒.)  ศึกษาวิธีการสร้างแบบประเมิน และกำหนดรูปแบบการประเมิน
              ๓.)  สร้างแบบประเมิน แบบจัดอันดับคุณภาพ    มาตรา มีเนื้อหา   
                    ครอบคลุมองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบการสอน
 
                    และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน และมีคำถามปลายเปิด เพื่อให้
                     ผู้ประเมินได้แสดงความคิดเห็น เสนอแนะเพิ่มเติม
      
               ๔.นำแบบประเมินไปให้ครูผู้สอน จำนวน ๕ คน อ่านพิจารณาด้านภาษา
                     และความเป็นปรนัย

                                           ๕.นำแบบประเมินมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข

                      ๒นำรูปแบบการสอน จำนวน ๑ ฉบับ เอกสารประกอบรูปแบบการสอน ซึ่งประกอบด้วย คำแนะนำการใช้รูปแบบการสอน จำนวน ๑ ฉบับ แผนการสอน จำนวน ๕  แผนไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  ๕ ท่าน พิจารณาตรวจสอบด้วยแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

                     ๓.   วิเคราะห์ผลจากแบบประเมินเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบรูปแบบการสอน

  ขั้นที่ ๕  การทดลองนำร่อง

 ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการสอน และเอกสารประกอบรูปแบบการสอนที่ได้ผ่านการตรวจสอบแล้วมาปรับปรุงแก้ไขจนสมบูรณ์ไปทดลองสอนในสถานการณ์จริง  กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนบางซ้ายวิทยา  ภาคเรียนที่ ๒  ปีการศึกษา  ๒๕๔๓    เพื่อตรวจสอบดูว่ารูปแบบการสอนและเอกสารประกอบรูปแบบการสอนที่จัดทำขึ้นสามารถนำไปใช้ได้ผลมากน้อยเพียงใด

 ในการทดลองนำร่อง  ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้

        .   สอนด้วยแผนการสอน ๕ แผนที่จัดทำขึ้น   เรื่อง   เห็นแก่ลูก  กาพย์เห่ชมเครื่อง
คาวหวาน  อันของสูงแม้ปองต้องจิต   ณ หาดทรายชายทะเลแห่งหนึ่ง    นิราศนรินทร์

        ๒.   นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย และสรุปผล

        ๓.   ให้นักเรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสอนที่ใช้นำข้อมูลที่ได้
มาวิเคราะห์ สรุปผลนำไปใช้ปรับปรุงพัฒนารูปแบบการสอน

       ๔.นำข้อมูลจากการทดลองนำร่องทั้งหมดไปใช้ปรับปรุงรูปแบบการสอนและแผนการสอนให้สมบูรณ์ต่อไป 

ขั้นที่ ๖  การแก้ไขปรับปรุง รูปแบบการสอนและเอกสารประกอบการสอนและเอกสารประกอบ
           รูปแบบการสอน

             ผู้วิจัยได้นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษานำร่องมาใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาปรับปรุง เพื่อให้ได้รูปแบบการสอน และเอกสารประกอบการสอนฉบับสมบูรณ์การทดลองใช้รูปแบบการสอนเป็นการนำแผนการสอน    บทเรียนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  ที่สร้างขึ้นตามหลักการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อศึกษาดูว่ารูปแบบการสอนที่สร้างขึ้นสามารถช่วยให้นักเรียนมีพัฒนาการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นไปตามสมมุติฐานหรือไม่  โดยได้ใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบางซ้ายวิทยาทั้งหมด จำนวน ๑๓๔  คน  ๔ ห้องเรียน  เมื่อสอนแต่ละเรื่องครบตามเวลาที่ระบุไว้ในแผนการสอนได้นำคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์ด้วยวิธีทางสถิติ เพื่อหาประสิทธิภาพการสอน โดยการหาค่า C.V. และเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยการหาค่า t – test    และให้นักเรียนทุกคนแสดงความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการสอนการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และแปลความหมายบอกระดับความคิดเห็น  ตามข้อเสนอของ John W. best (๑๙๘๑๑๔๗)

 ๓.การส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ  ๕  ประการ  คือ หลักการ   จุดมุ่งหมาย   เนื้อหา   กระบวนการเรียนการสอน   การวัดและประเมินผล      รูปแบบการสอนขั้นตอนแรก      เน้นการใช้สื่อนำเรื่องเพื่อจัดระบบโครงสร้างความคิดนักเรียน เข้าสู่เรื่องที่อ่าน โดยมีการศึกษาประวัติผู้แต่ง  ที่มาของเรื่อง   เนื้อเรื่องย่อ    ขั้นตอนที่สอง  ปฏิบัติกิจกรรมการอ่าน  โดยใช้สื่อเพื่อศึกษาและตีความ คำศัพท์ ถ้อยคำสำนวนภาษาที่ปรากฏในเรื่องพร้อมทั้งจับใจความสำคัญ  และขั้นสุดท้ายของรูปแบบการสอนอ่าน  คือ  ทบทวนด้วยปัญญาและเหตุผลเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิต มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ลักษณะนิสัยตัวละคร หรือ วิเคราะห์ วิจารณ์ การนำเสนอความคิด และ  รสแห่งวรรณศิลป์ บอกคุณค่าจากการอ่านวรรณคดี  โดยกระบวนการเรียนรู้  เน้นทฤษฎีการเรียนรู้ ๕ เรื่อง คือ  การเรียนรู้อย่างมีความสุข   การเรียนรู้จากการคิดปฏิบัติจริง  การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น  การเรียนรู้แบบองค์รวม  การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ของตนเอง  สำหรับเอกสารประกอบรูปแบบการสอน มีส่วนประกอบ คือ คำแนะนำการใช้รูปแบบการสอนและแผนการสอน ๕ แผน สื่อนำเรื่องที่ใช้ในแผนการสอน   แบบทดสอบ  เฉลยแบบทดสอบ         

๔. เป็นผลงานที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 

     เป็นผลงานที่มุ่งเพิ่มผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้   มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ   .๐๑ ทุกเรื่องที่ทดลองใช้รูปแบบการสอน 

 ๕. เป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา ผู้ร่วมงาน ชุมชน สังคม วงวิชาการ และวิชาชีพ 

ผลงานการวิจัยเป็นที่ยอมรับของทุกระดับ เพราะงานวิจัยสามารถตอบโจทย์ได้ตรงประเด็นโดยนักเรียนมีความคิดเห็นระดับมากที่สุด รายการประเมินที่ระบุว่า รูปแบบการสอนที่ใช้สื่อนำเรื่องในกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญนี้ มีคุณค่า น่าสนใจ ส่งเสริมความใฝ่รู้ และพบว่ามีระดับความเห็นมาก ทุกรายการประเมิน ตามลำดับดังนี้ คือ  ช่วยให้การเรียนรู้นำไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิต  มีประโยชน์ต่อการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ การใช้สื่อนำเรื่องก่อนการอ่านตอบสนองความต้องการของนักเรียน        สื่อนำเรื่องช่วยลำดับเนื้อหาตามเนื้อเรื่อง      ช่วยให้จำคำศัพท์สำนวนภาษาในเรื่องได้ดีขึ้น  นักเรียนมีโอกาสฝึกกระบวนการคิดด้วยตนเอง  คุณภาพของภาพตัวอักษรที่ใช้เหมาะสม    สื่อนำเรื่องช่วยสร้างจินตนาการกระตุ้นให้เกิดความคิดในเชิงเหตุผลได้ดี และสื่อนำเรื่องช่วยให้การตีความเรื่องที่อ่านและความรู้สึกของกวีได้ดี

 ๖. เป็นแบบอย่างที่ดีให้ผู้อื่นสามารถนำไปปฏิบัติหรือประยุกต์ใช้ได้

                     การจัดทำสื่อ นวัตกรรมโดยมีการวิจัยและพัฒนา นับว่าเป็นยุทธศาสตร์ท่ล้ำยุคในขณะนั้นซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาครูที่ยั่งยืน   เพราะเน้นการพัฒนาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน  สร้างเป็นเครือข่าย  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติจริง  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างถาวร  เข้าถึงครูได้อย่างรวดเร็วเป็นการสร้างแบบอย่างที่เป็นรูปธรรม


 ๗. ผลที่เกิดจากการนำผลงานไปใช้ 

                   ข้าพเจ้าได้นำแนวความคิดจากการวิจัยมาเพื่อการจัดการศึกษาที่ยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด     กระบวนการจัดการศึกษา  ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้   และวัฒนธรรมการเรียนรู้ไปจากเดิม   ที่ครูคุ้นเคยกับการบอกความรู้และนักเรียนเคยชินกับการรับ  และจำความรู้  การเปลี่ยนแปลงนี้จำเป็นจะต้องพัฒนาครูผู้สอนและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ยอมรับ  ตระหนักในความสำคัญและผนึกกำลัง  กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน

 . แนวคิดในการพัฒนาต่อไป

 แนวทางการพัฒนาในอนาคต ที่จะนำสื่อออนไลน์จากเว็บไซด์ที่ข้าพเจ้าจัดทำและพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ปีการศึกษา ๒๕๔๓ จนถึงปัจจุบัน คือ

 www.kruthai40.com  www.youtube.com/kruthai 

นอกจากนี้ข้าพเจ้ายังมีแนวทางในการพัฒนาตนเองให้ได้รับการยกย่อง เชื่อถือ ศรัทธา จากสังคมตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา  โดยประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและพัฒนาสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนา นวัตกรรม “การสอนอ่านเพื่อชีวิตและสังคม” โดยใช้สื่อประกอบออนไลน์เพื่อพัฒนาผู้เรียนในอนาคต ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่ต้องพัฒนาต่อยอดจากการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในปีการศึกษา ๒๕๕๙

ข้าพเจ้าพร้อมอุทิศตนเพื่อหน้าที่ มีความเสียสละ และมีความกล้าหาญทางจริยธรรม  มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง  ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ  ใช้วิชาชีพในการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  ละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ และให้บริการด้วยความเสมอภาค ไม่ใช้อภิสิทธิ  ให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการ ทำงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง  มีความยุติธรรม มีใจเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติด้วยอคติ  จัดการเรียนการสอนด้วยระบบคุณธรรม  รักษาความสามัคคี ปฏิบัติต่อผู้เรียนด้วยหลักการและเหตุผล ให้ความสำคัญ และมีความจงรักภักดีต่อสถานศึกษา   ดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรส่วนรวมขององค์กร อย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และสร้างสันติภาพ สันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม

 


 

 


 

 

 



เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี"

 

 


            

 

 มีลักษณะเป็นรูปพระพฤหัสบดี  ซึ่งมีความหมายว่าเป็นครูของเทวดาในทางวิชาความรู้  มีกวางเป็นพาหนะ พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว  พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์  กับมีรัศมีเป็นปริมณฑลล้อมรอบ  ทำด้วยโลหะสีทอง

 

 

 

             จรรยาบรรณของครูไทยบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อ พ.ศ.  2506 โดยให้คุรุสภาเป็นองค์กรที่ออกระเบียบข้อบังคับ เรียกว่า  ระเบียบประเพณีครูว่าด้วยจรรยามารยาทครู 10 ข้อ  และประเพณีของครูว่าด้วยวินัยอีก  10  ข้อ และปรับปรุง  ในปี พ.ศ. 2526  และปีพ.ศ. 2539
             สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาได้ดำเนินงานโครงการยกย่องเชิดชูเกียรติครูที่ประพฤติตนตามระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู  เพื่อรับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี" เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ครูได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ครู  ให้เกิดประโยชน์แก่ศิษย์ยิ่งๆขึ้นไป
             ในปีการศึกษา  2552  โรงเรียนบางซ้ายวิทยาได้เสนอครูให้เป็นผู้เข้ารับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ ซึ่งดำเนินการคัดเลือกโดย อ.ก.ค.ศ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต ๒  ขอขอบพระคุณที่นำเสนอชีวิตและผลงาน รับรางวัลเกียรติยศ เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี" จัดขึ้นเนื่องในโอกาสวันครูโลก วันที่ 5  ตุลาคม 2552 
             จรรยาบรรณของวิชาชีพครู
             จรรยาบรรณต่อตนเอง
             ๑. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
             จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
             ๒. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
             จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
             ๓. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่   โดยเสมอหน้า
             ๔. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาท หน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
             ๕. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
             ๖. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์  และผู้รับบริการ
             ๗. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
             จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
             ๘. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคี  ในหมู่คณะ
             จรรยาบรรณต่อสังคม
             ๙. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

 

 

 

 ประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี" ประจำปี ๒๕๕๒  

 

 




ชีวิตและผลงานเกียรติยศ

ครูรักการอ่านยอดเยี่ยม สพฐ.
โล่รางวัลวิถีพุทธชั้นนำ
ครูภาษาไทยดีเด่นมุ่งมั่นพัฒนาบางซ้ายวิทยาสู่สากล
เกียรติภูมิ ครุ จุฬาฯ 55
ครูภาษาไทยดีเด่น คุรุสภา รางวัลเกียรติยศของครู



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (37807)
avatar
ครูมนัสนันท์ กทม.

ขอแสดงความยินดีที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรติ

ผู้แสดงความคิดเห็น ครูมนัสนันท์ กทม. วันที่ตอบ 2010-04-19 04:23:31 IP : 125.24.2.219


ความคิดเห็นที่ 2 (155171)
avatar
แสงจันทร์ กางถิ่น

ขอแสดงความยินดีมากๆ

ผู้แสดงความคิดเห็น แสงจันทร์ กางถิ่น (sangjaw12-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2013-04-18 13:07:31 IP : 110.77.233.18



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2005 All Rights Reserved. ครูภาษาไทยดีเด่น 2540 ครูต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ 2545 (Teacher Award)กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลคุรุสดุดี 2552
ร้านหนังสือ"บ้านครู"  ศูนย์รวมพลังแห่งปัญญา แหล่งศึกษา ค้นคว้า แนะนำหนังสือดีเด่น ควรอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
www.kruthai40.com จัดทำโดย นายสุรินทร์ ยิ่งนึก ครูต้นแบบเครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 ครูภาษาไทยดีเด่น รางวัลคุรุสดุดี คุรุสภา surinkruthai@gmail.com