ReadyPlanet.com
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
dot
PLCนวัตกรรม
bulletระบบประกันคุณภาพออนไลน์
bulletfacebook.com - kruthai40
dot
dot


กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ
มรดกไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียน DLIT
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ
gotoknow:kruthai40


ทำไม??"เด็กไทย".. ถึงห่างไกล"ประวัติศาสตร์

 

 

 

นางจิรภาส กล้ากสิการ

ร.ร.ชุมชนประชาสามัคคี จ.กำแพงเพชร

"อยากให้ปรับโครงสร้างหลักสูตรประวัติศาสตร์ไทยให้ดี ไม่อยากให้เนื้อหาสาระเยอะเกินไป และอยากให้ครูทุกคนให้ความสำคัญกับการสอนประวัติศาสตร์ ทั้งที่เป็นวิชาสำคัญมาก แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงละเลยกันขนาดนี้ จะเห็นว่าปัจจุบันเด็กที่จบช่วงชั้นที่ 1 และ 2 เข้ามัธยมต้น ไม่รู้เรื่องประวัติศาสตร์ไทยเลย ทั้งสุโขทัย อยุธยา ซึ่งวิเคราะห์แล้วเป็นเพราะการไม่ให้ความสำคัญของครู และนักเรียน อย่างครูส่วนใหญ่จะสอนวิชาหลักๆ แต่พอถึงสาระสังคมศึกษา กลายเป็นไม่สำคัญเลย อย่างไรก็ตาม ประวัติศาสตร์ไทยเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กควรเรียนรู้ก่อนไปเรียนประวัติศาสตร์สากล ส่วนหลักสูตรใหม่ยังไม่รู้ว่าจะได้ผลมากน้อยแค่ไหนในการที่จะทำให้เด็กสนใจเรียนประวัติศาสตร์มากขึ้น ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าการแบ่งวิชาประวัติศาสตร์ออกมาต่างหาก น่าจะได้ผลดีกว่า"

นายปรีดี พิศภูมิวิถี

คณะอนุกรรมการชำระประชุมพงศาวดาร กรมศิลปากร และอาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

"วิธีการหาความรู้ หรือการเรียนรู้ที่ครูประวัติศาสตร์จะเข้าถึงข้อมูล ซึ่งในอดีตครูจะอ่านจากหนังสือเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ข้อมูลจะยึดที่ตัวปี และบุคคล แต่ปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลง ให้ครูรู้ว่ากระบวนการเข้าถึงมีหลายแบบ เช่น สำรวจเอกสารชั้นต้น การสังเกต การสอบถาม การสัมภาษณ์ และการออกไปดูสถานที่จริง หากเปลี่ยนแปลงได้ เชื่อว่าจะทำให้การเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทยน่าสนใจมากขึ้น นอกจากนี้ เวลาของการเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ที่น้อยลงเป็นหนึ่งในปัญหา ขณะที่ภาระของครู และนักเรียนมีมากขึ้น ฉะนั้น เนื้อหาจะถูกอัดค่อนข้างมาก และครูยิ่งสรุปเนื้อหาอัดแน่นลงไป ก็จะทำให้เด็กไม่ได้คิดเอง ไม่รู้จักการตั้งคำถาม อีกทั้ง จากประสบการณ์การสอนวิชาประวัติศาสตร์ในมหาวิทยาลัย พื้นฐานนักศึกษาค่อนข้างแย่ ทุกคนคิดว่าประวัติศาสตร์คือเรื่องที่ต้องอ่าน และจำ ซึ่งเป็นผลผลิตมาจากมัธยม แต่เมื่อมาเรียนในระดับอุดมศึกษา นักศึกษาจะต้องค้นคว้าด้วยตัวเอง จะทำให้เด็กเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องนี้ได้"

นางจิณณรัตน์ อัครรังสีธนกุล

ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุโขทัย เขต 1

"อยากให้ครูปลูกฝังในเรื่องของถิ่นฐาน ประวัติศาสตร์ความเป็นมาในชนชาติ การรักท้องถิ่น ตั้งแต่ประถม ซึ่งครูอาจมองข้ามไป หรืออาจเป็นเพราะว่าสาระวิชาสังคมฯ แยกย่อยมากถึง 5 สาระ ทำให้ครูไม่สามารถลงลึกในรายละเอียดได้มาก โดยเฉพาะครูประถมมีจำกัด บางคนสอนหลายสาระฯ บางคนสอนต่างช่วงชั้นด้วย ส่วนการเรียนระดับมัธยม อาจมีปัญหาน้อย เพราะมีครูแยกประจำสาระวิชา นอกจากนี้ การที่วิชาประวัติศาสตร์ถูกนำไปใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยน้อย ก็มีส่วนทำให้เด็กไม่สนใจ ฉะนั้น หากส่งเสริมเรื่องนี้ตั้งแต่ประถม เชื่อว่าเด็กจะหันมาสนใจประวัติศาสตร์ไทยเพิ่มขึ้นแน่นอน"

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

"การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยควรเริ่มที่ท้องถิ่นของตนเองก่อน ทำให้การเรียนมีความหมาย มั่นใจว่าเด็กจะเรียนอย่างมีความสุข และจดจำได้ดี เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว โดยไม่ควรเน้นให้เด็กท่องจำ แต่ควรใช้วิธีการหลากหลาย นอกจากนี้ จะทำอย่างไรให้เด็กซาบซึ้ง มีจุดร่วมในสำนึกความเป็นไทย เพราะสิ่งที่พวกเราที่เป็นผู้ใหญ่รู้สึกซาบซึ้งและมีความผูกพันกัน เด็กยุคใหม่จะไม่คิดอย่างนั้น และมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว อาจเป็นเพราะพวกเขาไม่มีโอกาสได้สัมผัสสิ่งเหล่านี้"

นายวินัย พงศ์ศรีเพียร

รองประธานกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย

"ผมเคยพูดมาหลาย 10 ปีแล้วว่า การเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทยมีอนาคตที่ค่อนข้างมืดมน เพราะระดับมัธยมไม่ให้ความสนใจ เพราะช่วงนั้นรัฐบาลให้ความสำคัญด้านวัตถุนิยม การพัฒนาเศรษฐกิจ และผมเคยเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ก็ทรงเป็นห่วงว่าคนไม่ให้ความสำคัญ คิดว่าการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ในโรงเรียนต้องเปลี่ยนแปลง ปัญหาสำคัญอยู่ที่ความรู้พื้นฐานของครูที่ไม่มีความรู้พื้นฐานประวัติศาสตร์ เพราะไม่มีโอกาสอ่านเอกสารต้นฉบับ ที่สำคัญความรู้ที่รับรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชาติไทยที่อยู่ในตำราเรียน งานเขียนถูกต้องเพียง 60% เท่านั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรจะให้ความสำคัญ"

 

จาก นสพ.มติชน 20 ต.ค.2551




ติดตามข่าวสาร

ข่าว
เด็กไทยเมินใช้สื่อออนไลน์เพื่อการศึกษา แต่เล่นเกม 86%
การฟ้องศาลปกครอง article
ทำไม จึงสร้าง ครูไทยสี่ศูนย์.ning.com
ช่อง OBEC
นักอ่านหนังสือออนไลน์ทั่วประเทศจีน
ว่าด้วย"บทอาขยาน"
การสร้างค่านิยมหลักของคนไทย
แนวคิดพัฒนาองค์กรด้วย Appreciative Inquiryl
เส้นทางของการ “ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2
นายกรัฐมนตรีห่วงครูไทยแบกภาระหนัก ชม.สอน - งานธุรการแน่น สั่งเร่งแก้ไขมุ่งคุณภาพผู้เรียน
จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์
รัฐบาลเตรียมจัดใหญ่พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 พร้อมให้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
ข่าวมัลติมีเดีย-สื่อออนไลน์
จิตสำนึกสาธารณะ จิตอาสา
ข่าวออนไลน์ทั่วไทย
แจ้งผลการคัดกรองครูภาษาไทยประกายเพชร ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓
การคัดกรอง ครูภาษาไทยประกายเพชร ของ มูลนิธิเพชรภาษา
รายงานผลการดำเนินงาน โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน กระทรวงศึกษาธิการ
ข่าว-บทความ-อื่นๆหลากหลาย ดีๆ จากสื่อมวลชน
หนังสือเรียนภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาฯยังคงใช้ได้
ปฏิรูปการศึกษารอบสอง : นำแนวคิดสู่แนวบริหารจัดการ
สอนเด็กคิดเป็น
"ปลาทู 2 ตัว" ชะลอ "ความแก่"
จิตตปัญญาศึกษา รุ่งอรุณแห่งจิตสำนึกใหม่ทางการศึกษา
ชี้เป็นเด็กอัจฉริยะต้องมี6Q
สกศ.ตั้งจุดเน้น7เรื่องหลักทำงานปี52ดึงครูต้นแบบช่วยสอนประวัติศาสตร์



Copyright © 2005 All Rights Reserved. ครูภาษาไทยดีเด่น 2540 ครูต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ 2545 (Teacher Award)กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลคุรุสดุดี 2552
ร้านหนังสือ"บ้านครู"  ศูนย์รวมพลังแห่งปัญญา แหล่งศึกษา ค้นคว้า แนะนำหนังสือดีเด่น ควรอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
www.kruthai40.com จัดทำโดย นายสุรินทร์ ยิ่งนึก ครูต้นแบบเครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 ครูภาษาไทยดีเด่น รางวัลคุรุสดุดี คุรุสภา surinkruthai@gmail.com