ReadyPlanet.com
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
dot
PLCนวัตกรรม
bulletระบบประกันคุณภาพออนไลน์
bulletfacebook.com - kruthai40
dot
dot


กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ
มรดกไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียน DLIT
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ
gotoknow:kruthai40


ภาพยนตร์สารคดี

 

 

พื้นฐานของภาพยนตร์

 

 

 

 

              การที่ภาพยนตร์สามารถสามารถสื่อสารเรื่องราว   ความรู้ ความคิด ตลอดจนอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ให้คนดูรับรู้และรู้สึกได้ย่อมแสดงว่าภาพยนตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง แต่ภาษาภาพยนตร์มิได้ใช้ไวยกรณ์อย่างเดียวกับภาษาถ้อยคำ หากมีวิธีการสื่อสารเฉพาะตัวซึ่งได้แก่องค์ประกอบต่อไปนี้
องค์ประกอบในการสื่อสารของภาพยนตร์
1.มีล์ ซอง เซน (MISE   EN SCENE)
1) มีล์ ซอง เซน เป็นภาษฝรั่งเศส แปลว่า การจัดฉากหรือจัดเวที ซึ่งเดิมใช้กำกับการแสดงละครเวทีเมื่อมีภาพยนตร์เกิดขึ้น   งานในขั้นตอนนี้ก็นำมาใช้ในงานสร้างภาพยนตร์ รวมถึงงานผลิตรายการโทรทัศน์ในเวลาต่อมา   สิ่งต้องพิจารณาในการจัดมีล์ ซอง เซน ได้แก่
      1.1  ฉาก   เพื่อบอกข้อมูลกับสถานที่ และ/หรือเวลา นอกจากนั้นยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวแสดงได้ด้วยเป็นอย่างดี
      1.2 การแต่งกายและแต่งหน้า    เพื่อบอกบุคลิกของตัวละคร   ช่วยให้จำตัวละครได้บางครั้งยังบอกถึงการเปลี่ยนแปลงเวลา
      1.3 อุปกรณ์ประกอบฉาก    หมายถึงวัตถุใดๆที่ปรากฎอยู่ในฉากโดยมิใช่ฉากหรือเครื่องแต่งกาย   เป็นสิ่งที่ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับนิสัยใจคอหรือความเป็นไปของตัวละคร หรือทำให้เรื่องราวของภาพยนตร์ดำเนินต่อไป
2)การแสดง   การแสดงภาพยนตร์ไม่ต่อเนื่องเหมือนละคร   ผู้แสดงจะต้องเข้าใจ ผู้แสดงจะต้องเข้าใจเทคนิคการผลิตนักแสดงผู้มีชื่อเสียงของฮอลลีวูดคนหนึ่งเคยสรุปไว้ว่า นักแสดงภาพยนตร์ที่ดี ควรแสดงให้เหมือนกับว่าเป็นคนธรรมดาๆ แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นคนธรรมดาที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลกด้วย
3)การใช้กล้อง   เป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด เพราะหากไม่มีกล้องภาพยนตร์ก็แทบจะเกิดขึ้นไม่ได้การสื่อสารด้วยการใช้กล้องแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่
       3.1ขนาดภาพ (IMAGE SIZES) มีส่วนสำคัญในการบอกเล่ารูปลักษณ์สภาพแวดล้อม ตลอดจนความสำคัญของสิ่งที่ปรากฎบนจอภาพไม่ว่าจะเป็นคนหรือสิ่งของใดๆก็ตาม
        3.2มุมกล้อง(CAMERA ANGLE)ทำหน้าที่บอกตำแหน่งสิ่งของที่ปรากฏในจอภาพ แล้วยังทราบความรับรู้ทางจิตวิทยาขึ้นใจของคนดูได้ด้วย
        3.3การเคลื่อนกล้อง (CAMERA MOVEMENT) มีด้วยกันหลายลักษณะทั้งในแนวราบ แนวดิ่ง   โดยตัวกล้องอยู่กับที่ หรือการเคลื่อนตัวกล้องไปในทิศทางและลักษณะต่างๆตั้งแต่ดอลลีจนถึงเฮลิคอปเตอร์ช็อต ใช้แสดงมุมมองหรือทัศนะของตัวละครรวมถึงสภาวะของตัวละครที่กำลังเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ไปในลักษณะและด้วยพาหนะต่างๆ
เทคนิคการใช้กล้องหรือเทคนิคภาพยนตร์
BACKWARD
MOTION
SLOW MOTION
FADE ,
DESSOLVE ,
MONTAGB ,
FREEZE FRAME
MIRROR SHOT
4) การจัดแสง การที่แสงเป็นองค์ประกอบหนึ่งในภาษาภาพยนตร์ เนื่องจากการจัดแสงทำหน้าทมี่สำคัญ        2    ประการ
       1. สร้างมิติและบรรยากาศในภาพยนตร์
       2. สร้างผลพิเศษทางอารมณ์ความรู้สึก
5) การตัดต่อ   เป็นเทคนิคลำดับเนรื่องราวของภาพยนตร์ให้ราบรื่นกลมกลืน หรือสร้างความรู้สึกสะดุดขัดแย้งกับความต้องการของเนื้อหาและสไตล์ในการนำเสนอ
6) เสียง เป็นองค์ประกอบสุดท้ายที่ทำให้ภาพยนตร์สื่อสารได้อย่างชัดเจนและสมบูรณ์ โดยใช้เสียงดนตรี เสียงประกอบ และเสียงพูด
       เสียงดนตรี ช่วยสร้างอารมณ์และเสริมการรับรู้ในระดับจิตใต้สำนึก
       เสียงประกอบ ช่วยสร้างความรู้สึกสมจริงและอารมณ์ร่วม
        เสียงพูด        ช่วยขยายเรื่องราวที่ภาพไม่อาจเสนอได้และสื่อสารรแนวคิดหลักของเรื่องให้ชัดเจน   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


            

                          แนวคิดหลักของเรื่องConcept or Idea    
                             นวนิยายหรือบทละคร
                      ( Novel or Theatrical work)
                เรื่องย่อ (Symopsis or Reduction)
               โครงเรื่อง (Outline)
               โครงเรื่องขยาย (Film Treatment)
          
                บทแสดง(Screenplay or Master Scne Script)
                                      บทถ่ายทำ(Shooting Script)                  
                           ลำดับภาพร่าง(Storybording or Continuity Sketching) 

 

 

 

          
แบ่งภาพยนตร์ตามวัตถุประสงค์ของการผลิตเป็น 3 กลุ่ม
              1.ภาพยนตร์ที่ให้ข้อเท็จจริง ประกอบด้วย ภาพยนตร์ข่าวสาร ที่มักจะเป็นองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ที่ติดตามการเคลื่อนไหว
ไม่มีเรื่องของความคิดเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเรื่องข้อเท็จจริงทั้งหมด
              2.ภาพยนตร์ศิลปะ หรือภาพยนตร์ทดลอง เป็นภาพยนตร์ที่นักสร้างใหม่ๆ ศิลปินหรือนักศึกษาภาพยนตร์
คิดสร้างเพื่อทดลองความคิด ทฤษฎี และวิธีการใหม่ๆ ซึ่งไม่ผลทางการค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง
              3.ภาพยนตร์ที่ใช้โน้มน้าวใจ แยกออกเป็น 3 ประเภท   คือ
                        3.1.ภาพยนตร์บันเทิงได้แก่ ไททานิค
                        3.2.ภาพยนตร์โฆษณา ซึ่งจะเกือบจะเป็นการชวนเชื่อ เช่น โฆษณาบ้านบางระจัน
                        3.3.ภาพยนตร์สารคดี แบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะการนำเสนอเรื่องราว และเนื้อหาได้แก่            
 -ภาพยนตร์สารคดีในเชิงข่าว จะทำให้คนดูรู้สึกช็อค              -ภาพยนตร์สารคดีที่มีลักษณะสืบสวน เช่น แอบดูเป็นแอบดูตาย
 -ภาพยนตร์สารคดีเชิงโรแมนติก   นำเสนอเรื่องราวที่สวยงาม มีภาพเป็นส่วนมากไม่ค่อยมีคำบรรยาย เป็นต้น
                         ภาพยนตร์สารคดี     หมายถึง   เรื่องราวความเป็นจริงที่ผู้สร้างภาพยนตร์ถ่ายทอดตามทัศนะหรือมุมมองของตัวเอง เพื่อให้ผู้ชมเกิดการคล้อยตาม

 


การเขียนบทภาพยนตร์ มีลักษณะดังนี้คือ
 

 

                   1.แบบไม่มีบทที่เป็นเอกสาร (NON-SCRIPT) คือไม่มีการเขียนบทล่วงหน้า แต่มีการเตรียมการล่วงหน้า เช่น ภาพยนตร์ข่าว หรือ การถ่ายวีดิทัศน์การอบรมสัมมนา
                    2 TREAMENT OUTLINE จะต้องมีแนวคิดหลักหรือCONCEPT ของเรื่องก่อนถ้าเรื่องที่จะทำไม่มีแนวคิดหลักของเรื่อง ต้องเขียนขึ้นมาจากนิยาย เราจะต้องเอาแนวคิดนั้นมาทำเป็นเรื่องย่อ เพราะนิยายบางเรื่องยาวมาก จะทำเป็นภาพยนตร์ 2 ชม.นั่นไม่ได้จะต้องตัดทอน
                    TREATMENT  คือ การเขียนอธิบายความสั้นๆ ว่าภาพยนตร์ที่จะผลิตขึ้นนั้นมีลักษณะกี่ประเภทอย่างไร ความยาวเท่าไร   กลุ่มเป้าหมายคือใคร มีเนื้อหาอย่างไร และมีการตีความเนื้อหาออกมาเป็นภาพพิเศษอย่างไร
                     ในรายละเอียดของภาพยนตร์บันเทิงนั้น จะเอา TREATMENT ไปขยายเป็น SCREEN PLAY หรือ บทแสดง เพราะฉะนั้นภาพยนตร์บันเทิงจะมีลักษณะของบทเป็นแบบ คอลัมม์เดียว คือ มีส่วนนำ บอกเวลา บอกฉากมีส่วนภาพ และก็มีบทพูด ซึ่งเป็นบทที่ผู้แสดงจะต้องเอาไปท่อง ผู้ที่ทำฉากก็เตรียมจัดฉากหาสถานที่ สรุปได้ว่า SCREEN PLAY จะเป็นบทที่ใช้เตรียมงานได้ทั้งหมด
                       จากบทเสดงนั้น  ฝ่ายทีมงานช่างภาพก็จะเอา SHOOTING SCRIPT เป็นการกำหนดหน้าที่ให้ช่องกล้องจะทำงานอย่างไรบ้าง
โดยทั่วไปแล้วบทภาพยนตร์จะมี 2 ประเภท คือ
                         1.THE VOICE SCRIPT บทภาพยนตร์สารคดี
                         2.THE MASTER SCRENE DIALOG SCRIPT คือ บทภาพยนตร์ บันเทิง
บทจะมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ด้วยกัน 3 ส่วน คือ
                         1.ส่วนนำ บอกสถานที่ และเวลาอยู่ตรงส่วนบนสุด
                         2.เลขลำดับ SHOT
                         3.ส่วนภาพและเสียง   ประกอบด้วย คำอธิบาย การกำหนดมุมกล้อง ขนาดภาพและการเคลื่อนไหวกล้อง
                    ส่วนเสียง   ประกอบด้วย เสียงพูด เสียงบรรยาย เสียงดนตรี และเสียงประกอบ ซึ่งคำบรรยายจะสอดคล้องกับส่วนที่เป็นภาพ
            ส่วนภาพ    หลักการเขียนบทให้ได้ดีควรที่จะคิดออกมาเป็นภาพ แล้วดูว่าภาพนั้นต้องการเสียงอะไรก็ค่อยใส่เข้าไป
ภาษาภาพยนตร์มี 3 ระดับ
                       1.ระดับที่เป็นภาพ เช่น ดอกกุหลาบ
                       2.ระดับความหมาย เช่น หนุ่มคนหนึ่งเอากุหลาบจาก SHOT แรกไปให้หญิงสาว
                      3.ระดับสัญลักษณ์ เช่น หญิงสาวทิ้งกุหลาบเมื่อเลิกกับชายหนุ่ม   กุหลาบที่ทิ้งเป็นสัญลักษณ์ว่าเลิกแล้ว ภาษาภาพยนตร์เกิดขึ้นได้โดยการใช้กล้อง การควบคุมกล้องให้ทำงาน
การใช้กล้องเป็นเครื่องมือในการสื่อสารจะใช้อยู่ 3 ลักษณะ
                      1.ใช้เล่าเรื่อง บอกว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ครอบคลุม ACTION กล้องจะเห็นภาพโดยรวม
                      2.เน้นความสำคัญหรือสร้างจุดเด่น   กล้องต้องเข้าไปทำงานหรือใกล้กับสิ่งที่จะถูกถ่าย
                      3.สร้างอารมณ์และบรรยากาศเป็น   ต้องมีการกำหนดมุมกล้อง มุมกล้องนอกจากจะบอกตำแหน่งที่ถูกถ่ายมีผลในเชิงจิตวิทยาด้วย เมื่อต้องการให้ภาษาภาพยนตร์บ่งบอกถึงสิ่งเหล่านี้แล้วก็คือการควบคุมกล้องให้มีขนาดภาพและมุมกล้องต่างๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวของกล้องด้วย
มุมกล้องมี 3 ระดับ
                      1.ระดับสายตา มองสิ่งนั้นในลักษณะปกติ วัดโดยประเมินจากความสูงของคนทั่วไป
                      2.ระดับสายตาต่ำ ถ้าสิ่งที่เราถ่ายอยู่ต่ำกว่ากันจะเรียกว่าระดับสายาตาต่ำ
                      3.มุมสูง ถ้าตั้งกล้องต่ำ สิ่งที่เราถ่ายจะมีลักษณะสูงใหญ่สง่า ระวังเวลาถ่ายคนถ้าคนตัวอ้วนใหญ่มากๆ แต่เป็นผู้บริหารขององค์กร แล้วใช้มุมกล้องต่ำเพื่อให้เห็นว่าสง่างาม ผลคือ จะน่าเกลียด ต้องเลือกว่าต่ำหรือสูงแค่ไหน จึงจะเหมาะสม
 มุมตานกหรือเหนือหัว ลักษณะทางกราฟิก
    คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการใช้กล้องถ่ายภาพโทรทัศน์
   คำสั่งเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวกล้อง (CAMERA MOVVEMENT)
   การเคลื่อนไหวกล้องไปในแนวทางที่ขนานกันกับพื้นราบทั้งซ้าย-ขวา เรียกว่าการ PAN มีทั้ง PAN LEFT และ PAN RIGHT
   การเคลื่อนไหวกล้องในแนวดิ่งทั้งก้มและเงยกล้อง เรียกว่า TILT มีทั้งการ TILT UP และ TILT DOWN
    การยกกล้องขึ้นในแนวตั้ง เรียกว่า PEDESTAL โดยที่ตัวกล้องตั้งอยู่บนขาตั้งกล้อง (TRIPOD)
   การเคลื่อนกล้องในแนวทแยงมุม เรียกว่า   TRUCK มีทั้งเคลื่อนไปทางซ้ายและขวา คือ TRUCK LEFT ,TRUCK RIGHT
   การเคลื่อนกล้องในแนวครึ่งวงกลม เรียกว่า ARC LEFT และ ARC RIGHT
    การเคลื่อนไหวกล้องในแนวสูง ซึ่งตัวกล้องอาจอยู่บน CRANE
   การผสมผสานการเคลื่อนไหวกล้องโดยการผสมกัน เรียกว่า COMBINATION
    ลักษณะของการถ่ายทำ (CAMERA SHOT)
    EXTREME CLOSE-UP (ECU) การจับวัตถุในลักษณะใกล้ชิดอย่างมากต้องการเน้นรายละเอียด
    CLOSE-UP (CU) ภาพหรือวัตถุที่อยู่ใกล้
    MEDDIUM CLOSE-UP (MCU) ภาพขนาดประมาณหน้าอกของบุคคล
    MEDIUM SHOT (MS)ภาพลักษณะครึ่งลำตัว หรือประมาณหัวเข่า
    LONG SHOT (LS) ภาพเห็นเต็มตัวทั้งหมด
    EXTREAME LONG SHOT (ELS) ภาพในลักษณะกว้างไกล
   ลักษณะมุมของกล้อง (CAMERA ANGIE)
    มุมในระดับปกติคือระดับสายตา NORMAL ANGLE
    มุมสูงกว่าระดับสายตา HIGH   CAMERA ANGLE
    มุมต่ำกว่าระดับสายตา low CAMERA ANGLE
    มุมในแนวเฉียงหรือในแนวทแยง CANTED ANGLE
    มุมที่ติดกับตัววัตถุที่เคลื่อนไหว SUBJECTIVE CAMERA ANGLE
    มุมที่เคลื่อนไหวติดตามวัตถุที่ถ่านให้อยู่ในกรอบภาพโดยตลอด FRAMING MOVMENT
    ลักษณะของการเคลื่อนที่ในการเชื่อมภาพ (TRANSITION)
    การตัดเปลี่ยนภาพโดยฉับพลัน เรียกว่า  CUT
    การเลื่อนภาพจากภาพไปหาสัญญาณเทปโทรทัศน์ หรือ จากสัญญาณเทปโทรทัศน์มาหาภาพ เรียกว่า การเฟดภาพ (Fade)
    การเลื่อนภาพจากภาพหนึ่งไปสู่อีกภาพหนึ่ง เรียกว่า DISSOLVE หรือ MIX
    การกวาดเปลี่ยนภาพโดยใช้ PATTERN ต่างๆ กัน เรียกว่า WIPE
    การทำเทคนิคของภาพ เช่น การซูม การพลิกภาพ บีบภาพ เรียกว่า DVE (DIGITAL VIDEO EFFECT)
    ช่วงเวลาของการผสมผสานภาพ 1-2 วินาที จัดอยู่ในระดับที่เร็ว (FAST ) ถ้าเป็น 3-5 วินาที จัดอยู่ในระดับความเร็วที่ช้า(SLOW)

 

                                                                                                                              บทภาพยนตร์
 
                              เรื่อง..................................................................................
                              บทประพันธ์   ของ…………………………
                              บทภาพยนตร์   โดย………………………...
                              ความยาว………………………………..
                              ผู้ผลิต…………………………..
 
 
เรื่องย่อ    .............................................................................................................................................

 

ผู้แสดง และ character
1 ………………………………………………………………..
2. ……………………………………………………………….
3. ……………………………………………………………….
4 ………………………………………………………………..
5 ………………………………………………………………..
6 ………………………………………………………………..
 
 
 
 
 
            ลำดับฉาก                                               เวลา                                          ผู้แสดง
 
ฉากที่1....................................                     .....................               ....................................................
 
ฉากที่2...................................                      .....................               ... ................................................
 
ฉากที่3.....................................                    .....................               ....................................................
 
ฉากที่4.....................................                   .......................              ....................................................
 
ฉากที่5.....................................                   .......................              ....................................................
 
ฉากที่6.....................................                   .......................               ...................................................
 
ฉากที่7.....................................                    ......................               ...................................................
 
ฉากที่8....................................                     ......................              ...................................................
 
ฉากที่9....................................                     ......................                ..................................................
 
ฉากที่10....................................                   .......................                .................................................
 
 
 
 
รายละเอียดของแต่ละฉาก
 
ฉากที่1      (สถานที่)............................         (เวลา)....................              (ผู้แสดง).............................
 
.....................................................................................................................................................................
ฉากที่2       (สถานที่)...........................        (เวลา)......................             (ผู้แสดง).............................
 
....................................................................................................................................................................
 
 

 


                                                Shooting Script
                   เรื่อง.................................................................................
ฉากที่ 1                (ฉาก...............................................................................)
 
Shotที่...
 
 
 ภาพ
 
 

 


ภาพ :………………………………....
ขนาดภาพ.......................................................................
มุมกล้อง.........................................................................
การเคลื่อนไหวของกล้อง..............................................
เสียง..............................................................................
 
 
 
 ภาพ
 

 


Shotที่...
ภาพ :…………………
ขนาดภาพ.......................................................................
มุมกล้อง.........................................................................
การเคลื่อนไหวของกล้อง..............................................
เสียง..............................................................................

 

ความหมายบทภาพยนตร์ การสร้างบทและการสร้างตัวละคร

 

คือ การกำหนดเนื้อหา ลักษณะฉาก โดยการขยายความคิด สร้างสรรค์อย่างมีจินตนาการ ปรุงแต่งให้เกิดสีสันในรูปแบบของการนำเสนออย่างมีศิลป์
ขั้นตอนที่สำคัญในการเขียนบท
1. เนื้อหา /งานเขียน /เรื่องเดิม /งานเขียนใหม่
 จัดฉาก กำหนดเวลาในเรื่อง เพิ่มและลดบทบาทของตัวละครขึ้นใหม่ หรือคัดลอก
2.สร้างจินตนาการให้เกิด Plot เรื่อง โดยใช้จินตนาการเป็นโครงเรื่อง
3. กำหนดจุดประสงค์ของเรื่อง ต้องวางแนวหลักของเรื่องให้ลงตัว จะเป็นเรื่อง ความรัก เป็นเรื่องaction หรือเรื่องลึกลับ แล้วกำหนดพฤติกรรม  Character ไว้ในบท
4.กำหนดลำดับเหตุการณ์ วันเวลา ต้องให้สัมพันธ์กับเหตุการณ์ของเรื่องและตัวละครแต่ละตัว
5.กำหนดลักษณะนิสัย บุคลิกของการแสดงที่แตกต่างกัน
6.กำหนดพฤติกรรม – เหตุการณ์ จุดขัดแย้ง หากไม่มีประเด็นขัดแย้ง การแสดงไม่เป็นละคร
7.อารมณ์ขัดแย้งที่เกิดขึ้นต้องต้องเป็นเหตุการณ์ 3 เศร้า คือ ขัดแย้งทางอารมณ์ จิตใจ และการกระทำ   เพื่อกลับไปสู่จุดเด่นของเรื่องและเหตุการณ์
8.กำหนดแนวเรื่องผูกเป็นปม ที่ขมวดเหตุการณ์ทั้งคาดเดาได้และไม่ได้ และมีลูกเล่น
9. ต้องมีการคลี่คลายจุดวิกฤติ
10.กำหนดฉาก เวลาในฉากให้สัมพันธ์กับเหตุผลของตัวละครอย่างเหมาะสม
ฉาก( Scene )
จำนวนฉากและระยะเวลาของฉาก
    การกำหนดฉาก และเวลาในฉากให้สัมพันธ์กับเหตุผลของตัวละครอย่างเหมาะสม
   การเขียนบทต้องกำหนดเหตุการณ์กับตัวละครให้กระจ่าง ต้องกระชับและสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว
   การจะกำหนดว่าควรจะมีกี่ฉากต้องคำนึงถึงเหตุการณ์ในแต่ละสถานที่ เพื่อให้ได้เนื้อหาที่มีสาระและเข้มข้นที่สุด
รายละเอียดของฉาก
    มีรูปแบบดังนี้
1.      ฉากอะไร            กลางวัน         กลางคืน
2.      สถานที่เกิดเหตุการณ์    ทีผู้แสดงจะแสดง
3.      เวลา ระบุตามสถานการณ์ของเหตุการณ์และบรรยากาศ
4.      ผู้แสดงในแต่ละฉากมีใครบ้างระบุให้ครบ
ความต่อเนื่องของแต่ละฉาก
   การลำดับฉากเป็นสิ่งสำคัญเพราะเหตุการณ์ของเนื้อเรื่องต้องสอดคล้องว่ามาจากเหตุการณ์อะไร ต้องระบุความต่อเนื่องไว้ เพราะอาจจะผิดพลาดในเรื่องอารมณ์ และเครื่องแต่งของผู้แสดงที่ต่อเนื่องกัน
การเขียนบทในแต่ละฉาก
   การเขียนบทแบ่งลักษณะการเขียนดังนี้
                แบ่งกระดาษออกเป็นสองส่วน   ซ้าย ขวา
•         ด้านซ้ายมือของบท คือจะบรรจุให้เป็นการกระทำหรือการแสดงของนักแสดง ทั้งความรู้สึก อารมณ์ หรือพฤติกรรมทางการแสดง
•         ส่วนทางด้านขวามือของบท จะบรรจุ เนื้อหาของบทพูด(Dialogue)  
ตัวอย่าง
     ฉากที่ 3.
ในห้องรับแขก
เริ่มภาพ      อ๊อบนอนอยู่บนเก้าอี้ยาว
                แม่เอาผ้าขนหนูเช็ดหน้าอ๊อบ พ่อนั่งอยู่
                ที่มุมห้อง จากนั้นแม่ลุกเดินมาคุยกับพ่อ        พ่อ        เมื่อวานคุณพาไปหา  
                                                                    หมอรึเปล่า
                                                                           แม่         พาไป ฉันยังเล่าอาการให้หมอฟัง
                                                                                         เลยว่า ตาอ๊อบชอบคลื่นไส้   อาเจียน ปวดหัว ปวดท้อง      ตอนไปโรงเรียนเสมอ                       
Character ของตัวแสดง
    การกำหนด Character ของตัวแสดง ผู้เขียนบทต้องกำหนด
                บุคลิกโดยรวมของตัวแสดงแต่ละตัวในบทไว้ อาทิเช่น
•        บุคลิก เป็นคนอ้วน สูง ผอม หุ่นดี สง่างาม เป็นต้น
•        เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวมใส่ เป็นต้น
•        อารมณ์ ของตัวแสดง เป็นคนใจดี ใจเร็ว โมโหง่าย คุยสนุก ชอบคุย เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้เขียนบท
     1. มีความเข้าใจในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารทั้งภาษาท้องถิ่น และภาษาที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์ทั้งอดีตและปัจจุบัน
     2. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำสิ่งแปลกใหม่เพื่อการสื่อความหมายที่เหมาะสมสอดคล้องกับเรื่องราว
     3.เป็นนักคิด มีวิสัยทัศน์กว้างไกลมีจินตนาการ
     4. เป็นนักค้นคว้าทั้งข้อมูลและเหตุการณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบันเพื่อนำมาเป็นเรื่องราวในการแสดง
     5.มีความเข้าใจในเรื่ององค์ประกอบของภาพที่ใช้ในการสื่อความหมาย รวมทั้งบรรยากาศของการแสดงที่สอดคล้องกับฉากและเวลาในเหตุการณ์ต่างๆ
     6. มีความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ของแสงในบรรยากาศต่างๆ
     7. มีความเข้าใจในจิตวิทยาของผู้ชมในเรื่องของระยะเวลาที่จะสื่อสารที่สอดคล้องกับความรู้สึก
     8. เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่จะหาสิ่งใหม่ๆที่แปลกมาทดแทนความจำเจที่ผู้ชมเบื่อหน่าย
     9. มีความเข้าใจกับบทบาทการแสดงในแต่ละฉากแต่ละเหตุการณ์ เนื้อหาของเรื่องอย่างมีเหตุผล
    10. ผู้เขียนบทต้องมีความเข้าใจในเรื่องของการแสดงเพื่อสร้างสีสันของภาพยนตร์หรือละครเป็นอย่างดี
 
             ชมตัวอย่างสารคดีที่ผลิต (สารคดีต้นกำเนิดแม่น้ำชี)
             ในขณะที่ธุรกิจทีวีแบบเดิมกำลังประสบความสำเร็จอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อนทั้งในแง่เม็ดเงินโฆษณาและกระแสเรตติ้งความนิยม
            แต่ในช่วงสามปีหลังที่ผ่านมา สื่อวิดีโอดิจิตอลกระแสใหม่ได้เริ่มก่อตัวอย่างเงียบๆ และเริ่มจุดอุณหภูมิการแข่งขันร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ตามกระแสเว็บวิดีโอ ที่การระบาดแบบ Viral Video ของคลิปวิดีโอ
              สื่อวิดีโอออนไลน์ จากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งเป็นไปอย่างรวดเร็วชั่วพริบตา จะเรียกว่า “ยูทูบ” หรือ “ยูทิวบ์” หรือยังไงก็แล้วแต่ ไซต์ดังอย่าง YouTube ความจริงเป็นแค่หนึ่งในไซต์วิดีโอออนไลน์จำนวนมากมายที่กำลังเกิดขึ้นในเน็ตเวิร์คทุกวันนี้ และความสำคัญของสื่อนี้คงไม่ใช่เฉพาะแค่ทีวีล้านช่องในโลกออนไลน์ แต่เป็นลิงค์วิดีโอต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุดนับล้านลิงค์ที่ทำให้เว็บวิดีโอโดดเด่นขึ้นมาอย่างชัดเจน หรือว่าแอพพลิเคชั่นเว็บวิดีโอ คือโปรแกรมยอดฮิตในอีกสิบหรือยี่สิบปีข้างหน้า? จริงหรือว่า ยุคใหม่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ส่งผ่านจากอดีตของภาพและกราฟิก มาเป็นสื่อวิดีโอผสมที่ไม่มีอะไรหรือใครมากำหนดทิศทางได้ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับมูลค่าการตลาดและเม็ดเงินโฆษณา ของทีวีกระแสหลักในอนาคต? ถดถอยลง หรือแปลงร่างใหม่เป็นทีวีออนไลน์ที่เปลี่ยนอุปกรณ์รับชมจากทีวีจอแก้วไปเป็นทีวีจอคอมพ์
               เลือกชมสื่อวิดีทัศน์ออนไลน์ ได้ทุกเรื่องครับ 
                                 

 

                              

 

 

 

 

 
 

 
 
 

video
Three Kingdoms
สามก๊ก ตอน
จูล่งฝ่าทัพ
รับอาเต๊า04:56
 

 

 







Copyright © 2005 All Rights Reserved. ครูภาษาไทยดีเด่น 2540 ครูต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ 2545 (Teacher Award)กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลคุรุสดุดี 2552
ร้านหนังสือ"บ้านครู"  ศูนย์รวมพลังแห่งปัญญา แหล่งศึกษา ค้นคว้า แนะนำหนังสือดีเด่น ควรอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
www.kruthai40.com จัดทำโดย นายสุรินทร์ ยิ่งนึก ครูต้นแบบเครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 ครูภาษาไทยดีเด่น รางวัลคุรุสดุดี คุรุสภา surinkruthai@gmail.com