ReadyPlanet.com
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
dot
PLCนวัตกรรม
bulletระบบประกันคุณภาพออนไลน์
bulletfacebook.com - kruthai40
dot
dot


กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ
มรดกไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียน DLIT
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ
gotoknow:kruthai40


ห้องสมุดยุคใหม่ E-library

ห้องสมุดยุคใหม่ : ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์กับบทบาทใหม่ของบรรณารักษ์
 
 
                                                                สุนิษา ขันนุ้ย
 
        แหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญของคนเรา นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ ห้องสมุด เนื่องห้องสมุดเป็นแหล่ง รวบรวมสารสนเทศทุกรูปแบบ    ทั้งที่เป็นวัสดุตีพิมพ์    และวัสดุไม่ตีพิมพ์     เพื่อให้ผู้ใช้ได้ค้นคว้าตอบสนองตามความต้องการ ด้วยสภาพปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิต ในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นทางด้าน การศึกษา   เศรษฐกิจ สังคม    ซึ่งจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ    ทำให้ความรู้ต่างๆ ถูกนำเข้าสู่ระบบดิจิตอลมากขึ้นด้วย           ห้องสมุดซึ่งเป็น
หน่วยงานที่จะต้องให้บริการทางด้านสารสนเทศอยู่แล้ว           จึงจำเป็นอย่างที่สุดที่จะต้องมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน เพื่อให้มีศักยภาพแห่งการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอล เพื่อความสะดวก และรวดเร็วในการนำข้อมูลนั้นมาใช้     ก่อให้เกิดการประหยัดเวลา    และค่าใช้จ่าย     เพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ได้ครบถ้วน รวดเร็ว จากเหตุผลดังกล่าว ห้องสมุดส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จึงได้มีการปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่ระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น
 
 
ความหมายของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
 
                ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ห้องสมุดที่มีการจัดการระบบงานและเนื้อหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2548 : 130 ) 
 
ซึ่งห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์เป็นลักษณะผสมผสานการทำงานของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ห้องสมุดเสมือน และห้องสมุดดิจิตอล

 

 ลักษณะของห้องสมุดยุคใหม่ในบทบาทของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่

                 1.       มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนิน
งานของห้องสมุดทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และ ด้านการบริการผู้ใช้
                 2.       มีระบบโปรแกรมอัตโนมัติในการจัดการงานด้านต่าง ๆของห้องสมุด ได้แก่ งานจัดหา 
งานวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ   งานบริการยืม - คืน  งานสืบค้นข้อมูล    และ   งานด้านวารสาร      
                 3.       มีทรัพยากรที่เป็นข้อมูลอยู่ในรูปแบบดิจิตอล ได้แก่ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ เสียง
และภาพเคลื่อนไหว   โดยจัดเก็บข้อมูลไว้ในระบบฐานข้อมูล   ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย    และให้บริการข้อมูลผ่านเครือข่าย
                 4.        มีการใช้เทคโนโลยีในการสร้างข้อมูล การจัดเก็บ  การค้นหา และ การเผยแพร่ผ่านระบบเครือข่าย (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2545 :  95 )
                 5.       มีการให้บริการข้อมูลในลักษณะการใช้ข้อมูลร่วมกัน ผู้ใช้สามารถที่จะเปิดอ่านข้อมูล
พร้อมๆ กัน ได้ในเวลาเดียวกัน ต่างสถานที่กัน โดยผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
                 6.       ผู้ใช้สามารถที่จะใช้ข้อมูลได้โดยตรง เป็นเนื้อหาเต็มรูปแบบ โดยไม่ต้องมาที่อาคารห้อง
สมุด เนื่องจากสามารถเปิดอ่านได้โดย ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 
 
                  จะเห็นได้ว่าเมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงไป      สารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการดำเนิน
ชีวิต ห้องสมุดซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญที่ให้บริการสารสนเทศ จึงต้องมีการปรับเปลี่ยน และพัฒนา ในด้านต่าง ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ แต่ไม่เฉพาะเพียงระบบงานห้องสมุดเท่านั้นที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง บรรณารักษ์ผู้ที่ทำงานในห้องสมุดก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของ ตัวเองด้วยเช่นกัน เพราะว่า การดำเนินงานทุกอย่างจะขับเคลื่อน ไปในทิศทางใด ขึ้นอยู่กับบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
 
 

อาจอง กีระพันธ์ (อ้างใน วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543 : 2)    ได้กล่าวถึง   บรรณารักษ์ว่าเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

 
                  1.   เป็นตัวกลางหรือสื่อกลาง    ที่จะทำให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างสะดวกด้วยการเป็นผู้จัดระบบอย่างดีไว้ให้ผู้ใช้
                  2.   เป็นเหมือนครูแนะแนวการอ่าน  หรือ    แนะนำวิธีการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง
                  3. เป็นแพทย์  หรือ  พยาบาลที่ช่วยขจัดปัญหา หรือ รักษาผู้ใช้ที่ต้องการความรู้ในทุกรูปแบบ
                  4.   เป็นภัณฑรักษ์  ที่อนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ   และเผยแพร่วัฒนธรรมอันเป็นสมบัติ
ทางสติปัญญาของมนุษย์ให้กระจายไป เป็นการสืบทอดสู่คนรุ่นใหม่สืบเนื่องจากห้องสมุดมีการพัฒนาไปตามสภาพปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยีสารสนเทศของโลกยุคข่าวสาร บรรณารักษ์จึงต้องมีคุณสมบัตินอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ดังนี้
                1. เป็นนักจัดการ    บรรณารักษ์ต้องมีความรู้ในด้านการจัดการ การคัดเลือกข้อมูล ที่เหมาะสมตรงกับความต้องการของผู้ใช้
                2. เป็นผู้ให้คำปรึกษา   บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากข้อมูลในยุคสารสนเทศมีเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการแนะนำแหล่งใช้บริการข้อมูลที่ทันสมัย แก่ผู้ใช้บริการ
                3. เป็นผู้ให้คำแนะนำ   บรรณารักษ์ต้องเป็นผู้แนะนำการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะต้องมีการแนะนำวิธีการใช้ การสืบค้นข้อมูล เป็นต้น
                4. เป็นนักบริหาร บรรณารักษ์ต้องรู้จักบริหารห้องสมุดให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ผู้ใช้นึกถึงเป็นอันดับแรกในการเข้าใช้ เนื่องจากในปัจจุบัน มีสถานที่ต่าง ๆ มากมายที่เป็นแหล่งดึงดูดความสนใจของผู้คนให้ไปเข้าใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า   แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งผู้ใช้บริการนอกจากจะได้รับความเพลิดเพลินแล้ว ยัง ได้รับความรู้อีกด้วย เช่น ห้างสรรพสินค้าบางแห่งมีการจัดห้องสมุดไว้ในภาย เช่น TK Park อุทยานการเรียนรู้ ณ เซ็นทรัลเวิลด์ พลาซ่า ชั้น 6 หรือ อุทยานสัตว์น้ำ Siam Ocean World ที่สยามพารากอน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสถานที่เหล่านี้ ดึงดูดความสนใจของผู้คนได้
ไม่น้อย ดังนั้นห้องสมุดซึ่งเป็นสถานที่หนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์หลักในการให้ความรู้ จะต้องมีการบริหารจัดการให้ห้องสมุดมีความแตกต่างไปจากเดิม ให้ทัศนคติเกี่ยวกับห้องสมุด จากที่เคยเป็นแหล่งวิชาการล้วนๆ เป็นแหล่งที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าเท่านั้น ให้เปลี่ยนไปในรูปแบบที่ผู้ใช้เกิดความรู้สึกว่า การได้เข้าไปใช้ห้องสมุด ก็ได้รับความรู้ และ ความบันเทิง ไม่แพ้ห้างสรรพสินค้า หรือ แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ โดยบรรณารักษ์เป็นผู้บริหารจัดการให้ห้องสมุด กลายเป็นห้องสมุดมีชีวิต ขึ้นมา
                5. มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บรรณารักษ์ต้องรู้จักใช้เครื่องมือ และสารสนเทศทุกรูปแบบโดยเฉพาะสื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และนำมาให้บริการแก่ผู้ใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคพัฒนาไร้พรมแดน ซึ่งเป็นโลกข่าวสารที่บรรณารักษ์จะต้องเสนอให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และมีความทันสมัย
                6. เป็นนักวิจัย และประเมินผลงาน บรรณารักษ์ ไม่มีหน้าที่บริการเท่านั้น จำเป็นต้องเป็นนักวิจัยด้วย เพื่อจะได้นำผลวิจัยมาปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงงานให้ทันสมัย และตอบสนองความต้องาการของผู้ใช้ ตลอดจนรู้จักประเมินผลงาน ทั้งส่วนตัวและของผู้ร่วมงานเพื่อการพัฒนางานให้มีคุณภาพ(วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ, 2543 :  4)
                7.  เป็นนักพัฒนา บรรณารักษ์ ต้องมีการพัฒนาตนเองให้มีความรอบรู้ ใฝ่หาความรู้ตลอดเวลา   มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์    รวมถึงการพัฒนาตนเองให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงาน ให้ทันต่อโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงไป
                8.เป็นนักการตลาด บทบาทของบรรณารักษ์ในปัจจุบันจะต้อง เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ในการให้บริการเชิงรุก      แทนการตอบสนองผู้ใช้ในเชิงรับ    โดยบรรณารักษ์จะต้องรู้ความต้องการของผู้ใช้
ว่าผู้ใช้ต้องการอะไร แล้วดำเนินการจัดหามาให้บริการแก่ผู้ใช้ และกระตุ้นส่งเสริมให้เกิดการใช้บริการ เพื่อให้ห้องสมุด เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญที่อยู่ในใจของผู้ใช้เสมอ
                9. เป็นนักบูรณการ บรรณารักษ์ต้องมีความสามารถในการนำความรู้มาผสมผสานกับระบบเทคโนโลยี และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุด
                จากความเจริญก้าวหน้าของโลกที่ดำเนินต่อเนื่องไปอย่างไม่หยุดนิ่ง ส่งผลให้ห้องสมุดในฐานะแหล่งความรู้สาธารณะที่สำคัญแห่งหนึ่ง ต้องมีการพัฒนา ปรับเปลี่ยน เพื่อให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการดำเนินงานของห้องสมุด เพื่อให้กระบวนการทำงานลดความซ้ำซ้อนลง มีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น   มีการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบใหม่ที่อยู่ในรูปของดิจิตอล โดยผู้ใช้สามารถที่จะเรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงเนื้อหาเต็มรูปแบบ โดยไม่ต้องมาที่อาคารของห้องสมุด  เป็นต้น นอกจากนี้บรรณารักษ์ผู้ทำงานในห้องสมุด ก็ต้องมีการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะให้คำปรึกษา คำแนะนำแก่ผู้ใช้ ให้ผู้ใช้ได้สิ่งที่ต้องการมากที่สุด ซึ่งห้องสมุดจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญยิ่งในโลกของยุคเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะต้องมีการพัฒนาไปพร้อมกันทั้งระบบงานของห้องสมุดและตัวบรรณารักษ์เอง 
 
 
************************************************
 
เอกสารอ้างอิง
น้ำทิพย์ วิภาวิน. 2545. [อี-ไลเบอรี่] e-Library : ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์.  กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.
น้ำทิพย์ วิภาวิน. 2548 .  การบริหารห้องสมุดยุคใหม่.  กรุงเทพฯ :  เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
 

วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ. 2543.  การจัดและบริหารงานห้องสมุด. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร.
 

 

. [2007, July 20 ]
 

 

 
 

 

 






Copyright © 2005 All Rights Reserved. ครูภาษาไทยดีเด่น 2540 ครูต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ 2545 (Teacher Award)กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลคุรุสดุดี 2552
ร้านหนังสือ"บ้านครู"  ศูนย์รวมพลังแห่งปัญญา แหล่งศึกษา ค้นคว้า แนะนำหนังสือดีเด่น ควรอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
www.kruthai40.com จัดทำโดย นายสุรินทร์ ยิ่งนึก ครูต้นแบบเครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 ครูภาษาไทยดีเด่น รางวัลคุรุสดุดี คุรุสภา surinkruthai@gmail.com