จิตวิญญาณครู กับ จิตวิทยาอาจารย์
ธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึกและฝึกได้ จำเป็นต้องฝึกเพื่อให้หลุดพ้นจาก ความเป็นสัตว์ แล้วมาเป็นสัตว์ประเสริฐ เปลี่ยนเข้าสู่ความเป็นคนพัฒนาเข้าสู่ความเป็นมนุษย์ แล้วก้าวไปสู่ความเป็นเทวดาหรือสมมติเทพ คือมนุษย์ที่มีความเป็นเลิศประเสริฐกว่าคนทั่วไป
การฝึกฝน ให้มนุษย์มีความพิเศษ การฝึกลับ(เหมือนลับมีด) ให้คน ความแหลมคมของสติปัญญาต้องอาศัยการศึกษา โดยมีคุณครูและท่านอาจารย์เป็นผู้ฝึกฝนและฝึกลับ (สมอง) ให้เกิดความรู้แตกฉาน
การศึกษาเป็นสาระและเป็นภาระที่สำคัญของการพัฒนามนุษย์ และสังคมประเทศชาติ โลกมนุษย์จะมีความเจริญมั่นคง มีสันติสุข ต้องมีการศึกษา การศึกษาต้องมีครูมีอาจารย์และตำรับตำราที่เขียนขึ้นจากคุณครูบาอาจารย์
คำว่า “ครู” กับ “อาจารย์” มองอย่างเผินเผินเหมือนเป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน คือ คำทั้งครูและอาจารย์ต่างก็ทำหน้าที่สั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ผู้อื่น แต่ความหนักแน่นเ น้นแน่นอนในการสั่งสอนและให้ความรู้นั้น ถ้าพิจารณาจากความหมายของภาษา คำว่า ครู และอาจารย์จะแตกต่างกันในความหมายที่กระชับสนิทสนมกันกว่ากัน
คำว่า “ครู” มาจากคำว่าคุรุ แปลว่า หนัก ในความรู้สึกของคนรุ่นเก่าดูเป็นอมตะและศักดิ์สิทธิ์ คำเรียนขานว่า คุณครูมีใช้กันและเป็นที่ยอมรับกัน ส่วนคำที่จะเรียกขานอาจารย์ ไม่นิยมใช้คำว่า คุณอาจารย์ โดยทั่วไปนิยมใช้คำว่า “ท่านอาจารย์” และในทางกลับกันผู้ใดใช้คำว่า ท่านครู ก็จะแปลกและขัดในความรู้สึกที่จะยอมรับ
คำวาคุณคือความดีที่มีประจำอยู่ในผู้ใดหรือสิ่งใด เช่นความเกื้อกูล เมตตาต่อกันหรือเป็นคำที่ใช้นำหน้าเรียกชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง
คำว่า ท่านเป็นสรรพนามบุรุษที่สอง ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง เป็นคำกลาง ๆ ใช้แสดงการพูดถึงเพียงให้เกียรติกันและกัน
ครู ตามความหมายในพจนานุกรม หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์
อาจารย์ ความหมายในพจนานุกรม หมายถึง ผู้สั่งสอนวิชาความรู้ และเป็นคำที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อบุคคลเพื่อแสดงความยกย่องวามีความรู้ในทางใดทางหนึ่ง
ระหว่างคำว่า ครูกับอาจารย์ จะเห็นความแตกต่างและหนักเบาตามภาระหน้าที่ได้ชัดเจนว่า คำว่า ครูทำหน้าที่สั่งสอนศิษย์และถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ในลักษณะที่ออกคำสั่งได้ด้วย อาจารย์มีความหมายเพียงผู้สั่งสอนวิชาความรู้และเป็นการเรียกชื่อบุคคลที่มีความรู้ เพื่อแสดงความยกย่องเท่านั้น และในความหมายของคำว่าอาจารย์นั้นปราศจากศิษย์
เมื่อสังคมมีค่านิยมเรียนผู้ประสาทความรู้วิชาการว่าอาจารย์ แต่กลับมีการจัดงานวันครูแห่งชาติ บรรยากาศระหว่างผู้เรียนและผู้สอนจึงดูขัด ๆ เขิน ๆ
ผู้ใดมีความสามารถในการแสดงออกหรือมีพฤติกรรมการกระทำสั่งใดได้อย่างชำริชำนาญ มีความเก่งกล้าเหนือกวา ผู้คนจะให้การยอมรับยกย่องว่าเป็นผู้มีวิญญาณของนักแสดง เช่นนักแสดงที่มีความสามารถเป็นที่ยอกรับและประทับใจ นักแสดงผู้นั้นจะได้รับคำชมว่าเขาแสดงออกจากวิญญาณ หรือนักกีฬาที่เก่งกล้าสามารถในการเล่น ก็จะได้รับการเรียกขานว่ามีวิญญาณเป็นนักกีฬา
ภาระหน้าที่ของความเป็นครู ที่ต้องทำหน้าที่ทั้งถ่ายทอดความรู้และสั่งสอนให้แก่ศิษย์ จึงต้องเป็นบุคคลที่มีจิตวิญญาณในการสั่งสอนและถ่ายทอดความรู้ที่ละเอียดอ่อนลึกซึ้ง จริงจังในหน้าที่คุณครูจะต้องสร้างสิ่งที่เป็นครูให้แก่ศิษย์
คนโบราณมอบความไว้วางใจและให้ความเชื่อถือแก่ผู้ประสิทธิประสาทความรู้และฝึกฝนให้ตนว่าเป็นคุณครู จิตวิญญาณของครูจึงเป็นอมตะถาวร แต่ความเป็นครูย่อมมีทั้งพระเดชพระคุณต่อลูกศิษย์ คือต้องใช้ทั้งอำนาจและความสามารถในการสอนศิษย์
มีเรื่องเล่าว่าครูผู้เก่งกล้าสามารถตั้งอาศรมอยู่กลางป่า ชายผู้หนึ่งเดินทางไปหาเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ ครูผู้มีวิญญาณของความเป็นครูต้อนรับศิษย์ด้วยการเขกหัวสามที แล้วตบหลังตวาดไล่สามครั้ง ครั้นลูกศิษย์ได้รับการกระทำจาครูก็นำมาพิจารณาด้วยความนอบน้อม เพราะความที่ตนเองพร้อมที่จะมอบกายเป็นศิษย์
ด้วยปัญญาตรองดูรู้ว่าครูคงจะมีการลองใจ จึงตีปริศนาว่าที่เขกศีรษะสามทีนั้นมีประสงค์ให้มาหาตอนตีสาม ส่วนการตบหลังสมครั้งมีความหมายว่า ให้มาพลครูทางประตูด้านหลังขอสำนัก แล้วความสำเร็จของศิษย์คนนี้ก็ได้รับการต้อนรับประสิทธิ์ประสาทความรู้จากครูผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูที่แก้จริง
ปัจจุบัน ครูผู้มีจิตวิญญาณอันละเอียดและล้ำลึกคงไม่กล้าให้ปริศนาดังนี้แก่ศิษย์คนหนึ่งคนใดในลักษณะที่กล่าวมาเพราะอันตรายอาจเกิดขึ้นง่ายจากโทสะของผู้ฝากตัวเป็นศิษย์
ผู้สั่งสอนให้ความรู้แก่ผู้คนทั่วไปหันมาให้ความหมายในวิชาชีพของตนว่าเป็นอาจารย์ เป็นความสัมพันธ์ที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ในการสั่งสอนให้แก่กันและกันอย่างผิวเผิน เป็นลักษณะทั่ง ๆ ไปไม่เจาะจง ถ่ายทอดสั่งสอนแต่ละขั้นตอนจึงเกิดความหมายเพียงขั้นของจิตวิทยาที่ว่าด้วยเรื่องของจิต เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่เป็นปรากฏการณ์ของพฤติกรรมและกระบวนการของจิต ที่สอบสาวความเป็นไปได้อย่างตรงไปตรงมา
การสั่งสอนถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้ใด หากผู้สอนส่งถ่ายความรู้สึกลึกซึ้งถึงขั้นจิตวิญญาณ อันเป็นความหมายที่ละเอียดถึงความรู้แจ้ง รู้จริงอย่างจริงจัง สมควรได้รับการเรียกขานว่าครู เป็นผู้มีวิญญาณของความเป็นครู
ความรู้สึกในการเรียกผู้สั่งสอนของสังคมยุคใหม่ที่ใช้คำว่า อาจารย์ ซึ่งใช้วิธีการถ่ายทอดความรู้ให้กิศิษย์ในความเป็นสากลคือจิตวิทยา สังคมสมัยนี้กลายเป็นว่าการศึกษานำเอาจิตวิทยามาเป็นหลัก
ส่วนฐานเดิมนั้น มาจากจิตวิญญาณของการสอน
ปัจจุบันหลักและฐานของการเรียนการสอนจึงขาดสมดุล