ReadyPlanet.com
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
dot
PLCนวัตกรรม
bulletระบบประกันคุณภาพออนไลน์
bulletfacebook.com - kruthai40
dot
dot


กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ
มรดกไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียน DLIT
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ
gotoknow:kruthai40


 การประเมินผล PISA ตัวอย่างข้อสอบ PISA และข้อมูล PISA ประเทศไทย


ประกาศ สพฐ.ยกระดับคุณภาพนักเรียน
วันที่ 21/08/2014  09:51:50 AM ,ผู้เข้าชม : 884

ข้อสอบการอ่าน
วันที่ 18/08/2014  21:46:09 PM ,ผู้เข้าชม : 863

นานาสาระ
วันที่ 18/08/2014  21:43:08 PM ,ผู้เข้าชม : 1037

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก http://pisathailand.ipst.ac.th/

โครงการ ประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและ พัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจว่าระบบการศึกษาของประเทศได้เตรียมเยาวชนของชาติให้ พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี ที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตาม หลักสูตรในโรงเรียน ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 

 

การ ประเมินโครงการ PISA  ในปี 2558 เน้นวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ม.1-2 ในปีการศึกษา 2556 (เกิดระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2542 ถึง 31 พฤษภาคม 2543) ปี 2561 นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ป.4-5 ในปีการศึกษา 2556 (เกิดระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2545 ถึง 31 พฤษภาคม 2546)

 
 
 
 
 
 
 

ผล การทดสอบ PISA ของไทย ที่ตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด มีผลต่อภาพลักษณ์ของประเทศมาก เนื่องจากได้มีการนำผลการทดสอบ PISA ไปใช้เป็นเกณฑ์หนึ่งในการจัดลำดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งเกณฑ์ในการพิจารณาความน่าลงทุนด้วย ซึ่งในสายตานานาชาติมองว่า ไทยเป็นประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาต่ำ หรือคุณภาพ/ศักยภาพของคนไทยต่ำเมื่อเทียบกับนานาชาติ

 
 
 
 
 
 
 

4 สมมติฐานที่เชื่อว่าทำให้ผลการทดสอบ PISA ของไทยตกต่ำ คือ 1) ทักษะความสามารถในการอ่านและการเขียน (ภาษาไทย) อยู่ในระดับต่ำ  2) การเรียนการสอนจริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนไม่สามารถพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ของนักเรียน  3) รูปแบบข้อสอบของ PISA แตกต่างจากข้อสอบที่นักเรียนเคยทดสอบ  4) นักเรียน ครู ผู้บริหาร และสังคมส่วนใหญ่ ยังไม่รู้จัก PISA

 
 
 
 
 
 
 
การเตรียมตัวของประเทศต่างๆ ซึ่งได้นำเสนอในการประชุมประจำปีของ OECD ด้านการศึกษา เมื่อปี 2554 ที่ประเทศญี่ปุ่น ดังนี้
 
 
 
 
 
 
 

  1) ประเทศญี่ปุ่น เพิ่มกิจกรรมการอ่านในตอนเช้า (Morning Reading Session) โดยแบบฝึก “PISA-Style Reading Comprehension”, ส่งเสริมให้ห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าความรู้ของโรงเรียน, เพิ่มเวลาเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่านในระดับประถมศึกษา และลดจำนวนนักเรียนเหลือไม่เกิน 35 คนต่อห้อง
2) ประเทศอินโดนีเซีย นำ National Examination มาใช้ในการประเมินผลการจบการศึกษาของประเทศ
3) ประเทศจีน (เชียงไฮ้) ซึ่งมีผลประเมิน PISA 2009 และ 2012 ด้านการอ่านอยู่ในระดับสูงสุด ได้กำหนดให้สถานศึกษาจัดการเรียนให้นักเรียนทุกคนมีความสามารถในการอ่านไม่ ต่ำกว่าระดับ 2 ของ PISA และให้นโยบายด้านการปฏิรูปการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของมณฑลและเมือง
@ แนวทางปฏิบัติของประเทศไทย ในการนำองค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการ PISA มาใช้ในการสร้างความพร้อม

 
 
 
 
 
 
 

แนว ปฏิบัติที่ 1 ให้ทุกโรงเรียนแทรกกิจกรรมด้านการอ่านและการคิดวิเคราะห์ตามแนวทาง PISA ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือรายวิชาที่เหมาะสมโดยใช้บทอ่านและแบบฝึกที่ ได้รับจาก สพฐ./สสวท. ในระดับชั้น ป.4 - ม.3 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

 
 
 
 
 
 
 

 แนว ปฏิบัติที่ 2  การสอบทุกครั้ง ให้โรงเรียนลดข้อสอบแบบเลือกตอบและเพิ่มข้อสอบเกี่ยวกับสถานการณ์ที่มีความ ยาวและซับซ้อนตามข้อสอบ PISA  เพื่อให้นักเรียนได้อ่าน ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากสถานการณ์นั้น โดยเน้นตั้งคำถามการวิเคราะห์ และให้นักเรียนเขียนคำตอบพร้อมแสดงเหตุผล ที่มา หรือวิธีทำให้ได้คำตอบนั้นๆ

 
 
 
 
 
 
 
 เป้าหมายความสำเร็จในปี 2558
 
 
 
 
 
 
 

1) ด้านการอ่าน มีผลประเมินในอันดับที่ 39 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 470 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 25  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 2.0
2) ด้านคณิตศาสตร์ มีผลประเมินในอันดับที่ 40 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 460 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 35  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 5.0
3) ด้านวิทยาศาสตร์ มีผลประเมินในอันดับที่ 38 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 470 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 25  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 2.0
เป้าหมายความสำเร็จในปี 2561

 
 
 
 
 
 
 

 
 
 
 
 
 
 

1) ด้านการอ่าน มีผลประเมินในอันดับที่ 25 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 500 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 10  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 5.0
2) ด้านคณิตศาสตร์ มีผลประเมินในอันดับที่ 35 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 500 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 20  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 8.0
3) ด้านวิทยาศาสตร์ มีผลประเมินในอันดับที่ 38 จาก 65 ประเทศ  มีคะแนนเฉลี่ย 470 คะแนน  นักเรียนที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 ร้อยละ 25  และนักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 5 ขึ้นไป ร้อยละ 2.0
ทั้งนี้ คะแนนต่ำกว่าระดับ 2 หมายความว่า มีศักยภาพด้านนั้นต่ำจนไม่สามารถใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสมและเท่า นั้น  ส่วนคะแนนระดับ 5 และ 6 หมายความว่า มีศักยภาพด้านนั้นสูงเยี่ยม
การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าร่วมโครงการ PISA  ปี 2558 และปี 2561

 
 
 
 
 
 
 

ผู้ เกี่ยวข้องที่จะต้องได้รับการเตรียมความพร้อม ได้แก่ นักเรียน ครู ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา โดยมีมาตรการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2557 ใน 6 มาตรการ ดังนี้

 
 
 
 
 
 
 

มาตรการที่ 1 สร้างความตระหนักและสร้างทีม PISA ระดับเขตพื้นที่และหน่วยงานอื่น
มาตรการที่ 2 สร้างและจัดหาข้อสอบแนว PISA จัดทำคลังข้อสอบและสร้างระบบสอบออนไลน์ สำหรับให้เขตพื้นที่และโรงเรียนทุกสังกัดใช้
มาตรการ ที่ 3 สร้างบทอ่านและสร้างแบบฝึก เพื่อใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาศักยภาพการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหาของนักเรียนทุกสังกัด
มาตรการที่ 4 พัฒนาแบบทดสอบวัดระดับความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทย ทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
มาตรการที่ 5 ส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนกลุ่มที่มีผลการสอบ PISA ปี 2555 ต่ำ
มาตรการที่ 6 สร้างความเข้มแข็งของระบบกำกับ ติดตาม และประเมินผล
 

 
 
 
 
 
 
 



ภาพ สถาพร ถาวรสุข

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นอกจากนี้ ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ได้เสนอแนะสิ่งที่ควรดำเนินการเพิ่มเติม เช่น
 
 
 
 
 
 
 

- แต่ละเขตพื้นที่ควรมีทีมสร้างข้อสอบแนว PISA อย่างน้อย 9 คน (การอ่าน 3 คน คณิตศาสตร์ 3 คน วิทยาศาสตร์ 3 คน) ภายในปีงบประมาณ 2558
- แต่ละโรงเรียนควรมีครูที่ได้รับการฝึกให้เป็นผู้ชำนาญการด้านสร้างข้อ สอบ/เครื่องมือประเมินผลการเรียนรู้ประจำโรงเรียน 2-3 คนต่อโรงเรียน ที่สามารถให้คำแนะนำและนิเทศครูในโรงเรียนได้ ภายในปีการศึกษา 2560
- การศึกษาวิเคราะห์ข้อสอบที่โรงเรียนใช้ว่า มีความเหมาะสม มีความตรง มีความเชื่อถือได้เพียงใด และจะต้องพัฒนาอย่างไร ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อจับผิด แต่เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแก้ไข
- การศึกษาวิธีการวัดและประเมินผลเพื่อเลื่อนชั้นและจบช่วงชั้นของนานาประเทศ เช่น จาก ป.1 ขึ้น ป.2, จาก ม.2 ขึ้น ม.3, จบ ป.6, จบ ม.3 และสำหรับประเทศไทยควรจะทำอย่างไร ถึงเวลาที่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง
- ควรได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งนักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง และประชาชน  ในการจัดกิจกรรมทั้งหมด และทุกคนตระหนักถึงความสำคัญ เห็นคุณค่า ความจำเป็นของการเข้าร่วมโครงการ PISA  ตลอดจนมีความเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ เชื่อว่าทำได้ เราก็ผิวเหลือง ผมดำ เหมือนคนอื่น และการจัดกิจกรรมจะต้องดำเนินการต่อเนื่องตลอดไป
ที่สำคัญคือ ต้องเริ่มตั้งแต่ "เมื่อวานนี้"


 
 
 
 
  27/3/2557  

รม ว.ศธ. กล่าวในพิธีเปิดว่า ศธ.ได้กำหนดนโยบายโดยใช้การประเมินระดับนานาชาติ PISA เป็นตัวชี้วัดหลักของนโยบายการศึกษา 8 ข้อ กล่าวคือ การวัดผล PISA ครั้งต่อไปไทยต้องมีอันดับสูงขึ้น และเพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าการวัดผลนี้เป็นเรื่องระดับสากล เป็นตัวชี้วัดที่หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา หรือบางประเทศที่จัดการศึกษาดี แม้ว่าจะเป็นการวัดผลในครั้งแรก แต่ก็มีผลคะแนน PISA ที่สูงมาก ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการศึกษาที่ดีกับผลสัมฤทธิ์ PISA ในอันดับสูง รวมทั้งจากการที่ประเทศไทยไม่มีการวัดผลกลาง  ทำให้จำเป็นต้องวัดโดยวิธีวัดในระดับสากล เพื่อให้ได้รู้สถานะของการจัดการศึกษาไทย ซึ่งผลประเมิน PISA ที่ผ่านมาของไทยอยู่ในอันดับที่ 50 จาก 65 ประเทศ ก็ทำให้เห็นความจำเป็นในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของไทยโดยเร็ว

 

 

ตัวอย่างข้อสอบ PISA และข้อมูล PISA ประเทศไทย
วันที่ 18/08/2014  21:35:29 PM ,ผู้เข้าชม : 917

 

ตัวอย่างข้อสอบ PISA และข้อมูล PISA ประเทศไทย [เลื่อนอ่านได้เลยครับ]

ที่มา : เอกสารการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA) 2015 และตัวอย่างข้อสอบ PISA จากสถาบันวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เว็บไซต์  OECD/PISA : [http://www.pisa.oecd.org]
เว็บไซต์สถาบันวิทยาศาสตร์ : ครูไทย หัวใจสืบเสาะ : [http://www.inquiringmind.in.th]
เรียบเรียงจาก : เว็บ สสวท. และ  http://addrachada.wordpress.com
ภาพประกอบจาก : http://www.eldiario24.com/uploads/editorial/2013/03/18/imagenes/8507_PISA-2015-237435_620.jpg
การประเมินผลรูปแบบ PISA
วันที่ 18/08/2014  21:30:45 PM ,ผู้เข้าชม : 881

 PISA มาจากคำว่า Programme for International Student Assessment คือ โครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ ของประเทศสมาชิกองค์กรเพื่อ ความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD) มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจว่าระบบการศึกษาของประเทศได้เตรียมเยาวชนของชาติให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี ที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน ในด้านการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์


ความเป็นมาของการประเมินผล PISA
     - เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี   1999  (  พ.ศ. 2541 )
     - มีประเทศเข้าร่วมโครงการ   65  ประเทศ
     - ประเทศไทยเข้าร่วมโครงการเมื่อ    ปี  2543
     - ประเทศเขตเศรษฐกิจเอเชียที่เข้าร่วม มีเกาหลี  จีน-ฮ่องกง  จีน-ไทเป  ญี่ปุ่น  สิงคโปร์  อินโดนีเซีย  ไทย และในปี พ.ศ. 2555  เพิ่มมาเลเซีย และเวียดนาม โดยในปี พ.ศ.  2555   จะเป็นการประเมินครั้งที่  5 โดยจะทำการประเมินในเดือนสิงหาคม 2555 การประเมินครั้งถัดไป คือ ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)

จุดประสงค์ของการประเมิน PISA
     - หาตัวชี้วัดคุณภาพการศึกษาให้แก่ประเทศสมาชิกและประเทศที่เข้าร่วมโครงการ
     - ประเมินศักยภาพของนักเรียนที่มีอายุ  15  ปี ในการใช้ความรู้  ทักษะจำเป็น เพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริงโดยทำการประเมินต่อเนื่องทุกๆ  3  ปี

ผู้รับการประเมิน PISA เป็นนักเรียนในระดับชั้นม.  3,  ม.4 ที่มีอายุ  15  ปี จาก
     —- โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
     —- โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
     - โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร
     - โรงเรียนในสังกัดสำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น
     —- โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัย
     —- วิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

PISA ประเมินอะไรบ้าง
     PISA ประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า “Literacy” หรือ “การรู้”  3 ด้าน ได้แก่ ด้านการอ่าน (Reading  Literacy) ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematic Literacy) และด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific  Literacy)

การประเมินแบ่งเป็น 3 ระยะ แต่ละระยะเน้นหนัก ดังนี้
     ระยะที่ 1 ( PISA  2000 /2009 ) เน้นการอ่าน  60% วิทยาศาสตร์  20 %คณิตศาสตร์  20%
     ระยะที่ 2 ( PISA 2003 / 2012 ) เน้นคณิตศาสตร์ 60% วิทยาศาสตร์ 20%  การอ่าน  20%
     ระยะที่ 3 ( PISA  2006 / 2015) เน้น วิทยาศาสตร์ 60% คณิตศาสตร์ 20%  การอ่าน 20%

ลักษณะการประเมินของPISA
     - ไม่ถามเนื้อหาสาระโดยตรงตามหลักสูตร
     —- เน้นวัดสมรรถนะ 3  ด้าน คือ  ด้านการอ่าน ด้านคณิตศาสตร์  และด้านวิทยาศาสตร์ เน้นการคิดวิเคราะห์
     - เน้นการคิดและหาคำอธิบาย
     - มีทั้งรูปแบบเลือกตอบและแบบเขียนตอบ คำถามเป็นปลายเปิด  ซึ่งนักเรียนต้องสะท้อนความคิดของตนออกมาเป็นคำตอบ
     —- การให้คะแนนขึ้นกับเหตุผลของการตอบ  คำตอบต่างกัน  อาจได้คะแนนเต็ม เหมือนกันอยู่ที่เหตุผลที่สอดคล้องคำอธิบายสมเหตุสมผล
หน้า 1/1
1
[Go to top]


Copyright © 2005 All Rights Reserved. ครูภาษาไทยดีเด่น 2540 ครูต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ 2545 (Teacher Award)กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลคุรุสดุดี 2552
ร้านหนังสือ"บ้านครู"  ศูนย์รวมพลังแห่งปัญญา แหล่งศึกษา ค้นคว้า แนะนำหนังสือดีเด่น ควรอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
www.kruthai40.com จัดทำโดย นายสุรินทร์ ยิ่งนึก ครูต้นแบบเครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 ครูภาษาไทยดีเด่น รางวัลคุรุสดุดี คุรุสภา surinkruthai@gmail.com