ReadyPlanet.com
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
dot
PLCนวัตกรรม
bulletระบบประกันคุณภาพออนไลน์
bulletfacebook.com - kruthai40
dot
dot


กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ
มรดกไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียน DLIT
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ
gotoknow:kruthai40


วิถีชีวิตชาวกรุงเก่ากับเรือไทย

วิถีชีวิตชาวกรุงเก่ากับเรือไทย

วิถีชีวิตชาวกรุงเก่ากับเรือไทย

  

                            คนไทยผูกพันกับสายน้ำมาแต่ครั้งโบราณ น้ำสะท้อนสายสัมพันธ์ ระหว่างคนไทยกับสายน้ำได้อย่างชัดเจน คือ การใช้เรือในการสัญจรและการอยู่อาศัยในบ้านเรือนไทยริมแม่น้ำลำคลอง ผู้คนตั้งถิ่นฐานตามสองฝากฝั่งลำน้ำ ทั้งอยู่บนตลิ่งและลอยอยู่ในน้ำ

                            เรือจึงเป็นพาหนะที่เหมาะที่สุดสำหรับคนไทย ดังที่ นายเฟรเดริค นีล เขียนบันทึกไว้ใน พุทธศักราช ๒๓๙๕ ว่าคนไทยนั้น "จะไปไหนก็ต้องนั่งพายหรือแจวเรือไป...คนไทยถือว่า มีแต่คนวิกลจริตเท่านั้นที่จะเดินไปไหนต่อไหน ในเมื่อทุกคนสามารถใช้เรือล่องลอยไปในสายน้ำได้อย่างสะดวกสบาย" แสดงให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่าชาวกรุงศรีอยุธยาดำรงชีวิตกันอย่างไร

                            คนไทยไม่ได้พายเรือเพื่อเดินทางเท่านั้น ถึงฤดูน้ำหลาก คนไทยยังอารมณ์ดีพอที่จะพายเรือเล่นโต้สักวา เล่นเพลงเรือ และที่ยิ่งใหญ่และสนุกสนานรื่นเริง คือ ประเพณีการแข่งเรือยาว ซึ่งจัดเป็นกีฬาพื้นบ้านที่สืบทอดมาถึงทุกวันนี้

                             ความที่ผู้คนมีชีวิตผูกพันกลมกลืนและพี่งพาสายน้ำ มีแม่น้ำลำคลองมากมายใช้เป็นเส้นทางคมนาคมมาตั้งแต่อดีตกาล ที่ทำให้มีผู้กล่าวว่า ชาวกรุงเก่าเป็น "ชาวน้ำ" และ มี "น้ำ" นั่นเองที่เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมประเพณีที่ยิ่งใหญ่สืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

                               จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและท้องทุ่งนา มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านหลายสาย ที่สำคัญได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา    แม่น้ำป่าสัก     แม่น้ำลพบุรี     แม่น้ำน้อย   กรุงศรีอยุธยาในอดีต มีสภาพเป็นเกาะล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ภายในและภายนอกเกาะเมืองมีคลองธรรมชาติและคลองขุดจากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมโยงถึงกัน

                                ภายในเมืองมีการขุดคลองใหญ่เพื่อใช้ในการคมนาคมผ่านเข้ามาหลายสายจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก   จากทิศเหนือไปทิศใต้ และมีคูคลองจากคลองใหญ่อีกมากมาย คลองสำคัญ เช่น คลองฉะไกรใหญ่ หรือ คลองท่อ คลองฝาง คลองฉาง คลองมหาไชย คลองแกลบ คลองในไก่ คลองประตูจีน คลองประตูหอรัตนชัย คลองฉะไกรน้อย คลองน้ำเชี่ยว คลองประตูข้าวเปลือก คลองประตูชัย คลองมหานาค

                   คลองนอกเมืองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศใต้มี คลองวัดไชยวัฒนาราม คลองวัดกุฎี คลองตะเคียน คลองคูจาม คลองมอญ คลองบางหวาย คลองวัดขอม คลองหัววัดทรงกุศล ทางทิศตะวันออกมี คลองข้าวเม่า คลองข้าวสาร คลองบ้านม้า คลองหันตรา     ทางทิศเหนือมี คลองสระบัว คลองบางขวด คลองวัดบ้านไผ่ คลองมหานาค ทางทิศตะวันตกมี คลองมะขามเทศ คลองบางตาล คลองแกลบ คลองต่าง ๆที่ขุดขึ้นเพื่อใช้ในการค้าขายของชาวบ้านและการคมนาคมสัญจรไปมา

                            ในพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ก็มีคลองอีกมากมาย เช่น คลองบางบาล คลองเจ้าเจ็ดบางยี่หน คลองบางปลาหมอ คลองบางหลวง   คลองมหาราช   คลองบางแก้ว คลองพระครู คลองลาดชะโด คลองบางพระครู คลองกุฎี คลองลาดชิด คลองนาคู คลองสระเทพ คลองพระยาบันลือ    คลองขุนศรี คลองไผ่พระ   คลองกกแก้ว   คลองร่มไทร คลองปากกราน คลองน้ำเค็ม เป็นต้น

 
ภูมิปัญญาในการคมนาคมทางน้ำ

                          ในอดีตกรุงศรีอยุธยาเมืองแห่งสายน้ำ การเดินทางส่วนใหญ่จะใช้ทางน้ำเป็นหลัก วิถีชีวิตในการคมนาคมสัญจรไปมาหาสู่กันจึงคุ้นเคยกับการใช้เรือ     บรรพบุรุษชาวพระนครศรีอยุธยาได้สั่งสมภูมิปัญญา ใช้ความรู้ จากการสังเกต การทดลองใช้ มีประสบการณ์ในการทำเรือประเภทต่าง ๆ จากไม้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ซึ่งมีทั้งขนาดและประเภทแตกต่างกันไป

                      เมื่อราว ๕๐ ปีที่แล้วชาวกรุงเก่าทุกครอบครัวต้องมีเรือใช้อย่างน้อยที่สุด ๑ ลำ ส่วนใหญ่เป็นเรือขนาดเล็กใช้พายนั่งได้ ๒ - ๓ คน ถ้าเป็นครอบครัวใหญ่มีฐานะดีก็จะมีเรือขนาดใหญ่ใช้ต้องช่วยกันพายหลายคนหรือมีคนรับใช้แจวให้

                      รูปแบบของการประดิษฐ์ คิดค้นสร้างเรือขึ้นใช้ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพชน แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือเรือขุดและเรือต่อ

                      เรือขุด เป็นเรือในยุคแรกที่มนุษย์ใช้ภูมิปัญญาสร้างขึ้นแล้วนำมาใช้ในการสัญจรทางน้ำ เรือขุดที่มีใช้ในกันอยู่ในอยุธยาแต่เดิม ได้แก่ เรือหมู เรือมาด เรือโปง เรือชะล่า โดยจะใช้ต้นไม้ทั้งต้น โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็งที่ไม่มีตาหรือโพรง และรอยแตกร้าว เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้ตะเคียน ไม้ตาล                          

                      เรือต่อ เป็นเรือที่ได้รับการพัฒนาจากการที่มีเครื่องมือเครื่องใช้ในการต่อเรือที่หลากหลายขึ้น ยังคงใช้ไม้เป็นวัสดุหลักในการต่อเรือ พยายามใช้ไม้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ต่อด้วยกระดานสามแผ่นและห้าแผ่น พัฒนารูปแบบให้สวยงามอ่อนช้อยและแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น ใช้แจวหรือพายในการขับเคลื่อนเรือ เช่น เรือสำปั้น เรือบด และเรือแตะ

                     ส่วนเรือยนต์นั้นเป็นเรือยุคใหม่ที่ชาวกรุงเก่ารับความเจริญจากชาวต่างชาติมาพัฒนาโดยใช้ภูมิปัญญาตนเอง เรือต่อจึงสามารถแล่นไปได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น จนกระทั่งการคมนาคมทางน้ำหมดความนิยม เพราะรถยนต์และถนนหนทางมีมากขึ้น ผู้คนจึงค่อย ๆ ลืมเลือนวิถีชีวิตชาวน้ำที่ผูกพันกับเรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรือและภูมิปัญญาเรื่องการสร้างและการใช้เรือจึงเป็นภาพอดีตที่นับวันเยาวชนไทยคงไม่ค่อยมีโอกาสสัมผัสพบเห็น  

                    เหตุการณ์น้ำท่วมเกาะเมืองอยุธยา เมื่อเช้าวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๓๘ เรือหลากหลายชนิดที่สงบนิ่งอยู่ในพิพิธภัณฑ์เรือไทย แม่ย่านางทุกลำต้องลุกขึ้นมารับใช้ผู้คนที่เดือดร้อนจากน้ำเหนือที่ไหลบ่ามาอย่างรวดเร็ว อาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลา เล่าให้ฟังอย่างน่าคิดว่า “.........กำแพงกระสอบทรายที่เรียงกั้นไว้รอบเกาะเมืองอยุธยาไม่อาจทนทานได้   น้ำได้ทะลักเข้าทางถนนชีกุน ข้างวัดราชประดิษฐาราม ไหลมาตามถนนผ่านวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ เข้าไปตามถนนนเรศวร ถนนรัตนไชย ไหลเข้าซอยขาวมาลาอย่างรวดเร็ว.....โบราณสถานทุกแห่งจมอยู่ใต้น้ำ บึงพระรามเหมือนทะเลสาบ ถนนทุกสายไม่มีรถยนต์มีแต่เรือพาย เรือหางยาว เรือติดท้ายด้วยเครื่อง เรือเกือบทุกลำในพิพิธภัณฑ์เรือไทยได้ถูกนำมาแจกจ่ายเพื่อใช้งานอีกครั้งสำหรับเพื่อนบ้านที่ไม่มีเรือใช้   แม่ย่านางเรือทุกลำ ถ้าพูดได้คงจะบอกว่า ดีใจเหลือเกินที่ได้ถูกปลุกขึ้นมาลอยลำรับใช้ชาวกรุงเก่าอีกครั้ง นี่ก็เป็นเวลาผ่านมา ๑๐ ปีแล้ว หลังน้ำลดเรือก็กลับมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ต่อไป และหวังว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาเรื่องราวเกี่ยวกับเรือไทยอยู่เช่นนี้ตลอดไป เพราะบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ น้ำจึงไม่ล้นบ่ามาท่วมเกาะเมืองอยุธยาอีก....”

                    พิพิธภัณฑ์เรือไทย ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๑๒ หมู่ที่ ๑ ซอยขาวมาลา ถนนราเมศวร ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โทรศัพท์ ๐-๓๕๒๔-๑๑๙๕

 
ภูมิปัญญาในการขุดเรือและชนิดของเรือขุดที่พบเห็น
                 

                     การขุดเรือในสมัยโบราณไม่ใช่เรื่องง่าย   เพราะยังไม่มีเครื่องมือทุ่นแรงเหมือนในสมัยนี้ การสร้างเรือขุดเรือแต่ละลำต้องอาศัยความชำนาญและใช้กำลังคนเป็นจำนวนมาก วิธีการที่ใช้จนกลายเป็นคำศัพท์ทางช่างที่แสดงถึงภูมิปัญญาและกลายเป็นคำและสำนวนไทย เช่น คำว่า “เบิก” สำนวนไทย “อย่าติเรือทั้งโกลน”          

                    การเบิกเรือ หมายถึง การดึงปากเรือให้ขยายกว้างขึ้น    มี ๓ วิธี คือ

                    การเบิกไฟ   ใช้แกลบสุมไฟและถากเนื้อไม้ที่ไหม้ไฟออก ใช้ไม้ยาวประมาณ ๑๐ นี้ว ถ่างที่ปากเรือและค่อย ๆ เพิ่มความยาวของไม้ไปจนถึงกลางเรือ และลดขนาดลงถึงท้ายเรือทิ้งไว้ให้ไม้เย็นจึงดึงไม้ค้ำออก

                   การเบิกน้ำ นำน้ำใส่ในลำเรือที่ขุดหรือถาก แล้วทิ้งไว้หลาย ๆ วัน น้ำจะดันแคมเรือให้กว้างออกไป

                   การเบิกขวาน ใช้ขวานถากให้เรียบเพื่อให้ได้ขนาดความลึกของเรือตามต้องการ

                   เรือโกลน หมายถึง เรือขุดที่ยังไม่ได้รับการตกแต่งให้เรียบร้อย

                   คำอธิบายและภาพประกอบลายเส้นที่แสดงถึงภูมิปัญญาต่อไปนี้ อาจารย์ไพฑูลย์ ขาวมาลา ได้รวบรวมไว้นับว่ามีคุณค่าต่อการศึกษาเรียนรู้ อ้างอิงของเยาวชนไทยและเสริมสร้างจินตนาการ การขุดเรือไม้

  
 
ภูมิปัญญาในการต่อเรือ

                การต่อเรือ การทำเรือที่มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่มาก ๆ นั้นใช้ไม้กระดาน เหล็ก ไฟเบอร์กลาส และใช้เครื่องจักรกลแทนแรงคน โดยเฉพาะเรือใหญ่ที่ต้องใช้ฝีพายจำนวนมาก หรือเรือที่ใช้บรรทุกของที่มีน้ำหนัก

                มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ

                กระดูกงู เป็นส่วนที่แข็งแรงและสำคัญที่สุด ทำด้วยไม้กระดาน ที่มีความหนามากกว่าตัวเรือ มีความยาวตลอดจากทวนหัวเรือถึงทวนท้ายเรือ การวางกระดูกงูต้องได้สัดส่วนไม่ให้ผิดพลาด เนื่องจากจะมีผลต่อรูปร่างและการทรงตัวของเรือ

                กง   ไม้กระดานที่วางไว้บนกระดูกงูตามขวาง หากเรือขนาดใหญ่ต้องวางกงให้กว้าง และวางแคบลงตามขนาดเรือที่เล็กตามต้องการ

               ทวนหัวและทวนท้าย ทำด้วยแผ่นกระดานลนไฟให้อ่อนและตัดให้งอนตามลักษณะของเรือแต่ละชนิด ทวนหัวเรือจะถูกปาดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม เพื่อให้เรือแหวกน้ำและแล่นไปได้เร็ว ส่วนทวนท้ายเรือเป็นรูปป้าน

               การประกอบตัวเรือจะวางกระดูกงู และนำกงวางกับกระดูกงูนำไม้กระดานประกบเป็นเปลือกเรือตีประกบด้วยลูกประสักตอกยึดให้ติดกับกงทุกแถว ส่วนท้องเรือใช้ลูกประสักตอกยึดกับกระดูกงูกับกระดานท้องเรือให้แน่นแล้วจึงตอกหมันยาชัน เพื่อไม่ให้น้ำเข้าเรือ

  
การต่อเรือ
   

                     วันเวลาผ่านไปวิถีชีวิตชาวกรุงเก่าเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ราว พ.ศ. ๒๕๐๐ พร้อมกับความเจริญของถนนหนทางที่สะดวกในการเดินทางโดยใช้รถยนต์ รถประจำทาง แม้ทุกวันนี้ยังอาจพบเห็นชาวกรุงเก่าใช้เรือสัญจรไปมา ใช้หาปลาลงข่ายในแม่น้ำลำคลองอยู่บ้าง โดยเฉพาะในแถบอำเภอรอบนอก แต่นับวันก็ลดน้อยลงทุกที สองฝากฝั่งริมน้ำบ้านเรือนไทยหลายหลัง ยังอาจมีเรือไทยเก่า ๆ คว่ำอยู่ใต้ถุนเรือน เป็นเสมือนของเก่าขาดคนเอาใจใส่ดูแล ไม่นำมาใช้สอยอีกแล้ว

                     ในปัจจุบันเรือถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ ที่พบเห็นทั่วไป มีดังนี้

                     เรือกระแชง ในอดีตเป็นเรือขนส่งสินค้าถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นเรือท่องเที่ยว เรือร้านอาหาร ทำเป็นเรือโรงแรม ตั้งไว้บนบก ทำเป็นที่พักอาศัย

                      เรือมาด เดิมเคยใช้ขนสินค้า ขนข้าว ค้าขาย ปัจจุบันนำมาประยุกต์ใช้เป็นเรือรับนักท่องเที่ยว โดยใส่ประทุน(หลังคา) มีที่นั่ง ติดเครื่องท้ายเรือ เป็นเรือท่องเที่ยวทางน้ำ

                      เรือแท็กซี่   เรือหางยาว รับนักท่องเที่ยวสัญจรไปมา

                      ธรรมชาติและวิถีชีวิตอันบริสุทธิ์และมีค่ายิ่งในอดีต ไม่สามารถเรียกกลับคืนมาอีกแต่คนไทย โดยเฉพาะเยาวชนไทยและชาวกรุงเก่า เมื่อย้อนอดีตถึงความเป็นมาทุกคนน่าจะเรียนรู้เล่าขาน สืบสานอย่างภาคภูมิใจในภูมิปัญญาการสร้างและใช้เรือไทย อันแสดงถึงความเป็นชาวน้ำที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ขอให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ เรียนรู้ ถึงวัฒนธรรมเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ที่มีบ่อเกิดจากสายน้ำ วิถีชีวิตของชาวกรุงเก่ากับเรือไทยคงมีสายสัมพันธ์ที่ยาวนานตลอดไป

 ขอขอบคุณ อาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลา   นายกนก    ขาวมาลา แห่งพิพิธภัณฑ์เรือไทย

               ( Thai Boat Museum ) เอื้อเฟื้อข้อเขียน ภาพประกอบอันแสดงถึงภูมิปัญญาของ

               บรรพชนในการขุดเรือไม้       ภาพเรือขุด ภาพเรือต่อที่ทรงคุณค่า

 

               สัมภาษณ์อาจารย์ไพฑูรย์   ขาวมาลา พิพิธภัณฑ์เรือไทย เมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๘.

 งานวิจัย เกียวกับเรือไทย
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส าหรับการเผยแพร่ความรู้ กรณีศึกษา เรือจ าลองที่ใช้ใบพาย ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา Utilization of Information Technology for Knowledge Dissemination: A Case Study of Rua Sampan in Ayutthaya Province คลิกอ่านงานวิจัย

พิพิธภัณฑ์เรือไทย ขังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อ่านสารคดีจากสื่อออนไลน์

 

เนื่องจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคกลางของประเทศ มีภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น ้าสายใหญ่ไหลผ่าน ๓ สาย คือ แม่น ้าเจ้าพระยาไหลผ่านทางด้านทิศตะวันตกและ ทิศใต้ แม่น ้าป่าสักไหลผ่านทางทิศตะวันออก และแม่น ้าลพบุรี (ปัจจุบันเป็นคลองเมือง) ไหลผ่าน ทางด้านทิศเหนือ แม่น ้าสามสายนี ไหลมาบรรจบกันโอบล้อมรอบพื นที่ของตัวเมืองของจังหวัด พระนครศรีอยุธยา จึงท้าให้มีลักษณะเป็นเกาะจึงท้าให้มีการปลูกสร้างบ้านเรือนบริเวณริมแม่น ้าทั ง สองฝั่งเป็นจ้านวนมาก ซึ่งเป็นการแสดงถึงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับสายน ้ามาอย่างยาวนานจนถึงปัจจุบัน ใน อดีตสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการติดต่อการค้ากับชาวต่างชาติเป็นจ้านวนมาก ซึ่งการคมนาคมในสมัย นั นใช้เรือเป็นส่วนใหญ่ในการติดต่อค้าขาย จึงท้าให้เกิดมีเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ไว้ส้าหรับขนส่งสินค้า อันได้แก่ เรือส้าเภา และเรือก้าปั่น ส่งผลให้มีอู่ต่อเรือเกิดขึ นตามจ้านวนมาก ในส่วนของประชาชน ทั่วไป ต่างก็อาศัยเรือขนาดเล็กไว้ส้าหรับสัญจรไปมาหาสู่และท้าการค้าขายกัน ได้มีบันทึกของ บาทหลวงชาวฝรั่งเศสว่า “ในแม่น ้าล้าคลองเต็มไปด้วยเรือ จะไปไหนต่อไหนไหนก็เจอแต่เรือแน่นขนัด ไปหมด จนไม่สามารถแหวกทางผ่านกันได้หากไม่ช้านาญ ทั งที่เรือแน่นขนัดจอแจเช่นนี ก็ไม่ปรากฏว่า เกิดอุบัติเหตุแต่อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างยิ่ง” นั่นหมายความว่า เรือมีความส้าคัญอย่างยิ่งใน การด้ารงชีวิตของประชาชนในสมัยนั น โดยเรือที่มีใช้กันในสมัยนั น แบ่งออกตามประเภทของการ สร้างได้ ๒ ประเภท คือเรือขุด และเรือต่อ ซึ่งชื่อเรียกของเรือจะเรียกตามวัตถุประสงค์ในการใช้สอย การขับเคลื่อนและขนาดที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของภาคกลางได้แบ่งเรือ เป็น ๓ ชนิดคือ เรือพาย เรือแจว และเรือกลหรือเรือยนต์ซึ่งในปัจจุบันองค์ความรู้และความเข้าใจเรื่องเรือยังไม่เป็นที่ แพร่หลาย มีอยู่ในเฉพาะกลุ่มบุคคลที่สนใจ ด้วยเหตุผลดังกล่าวคณะวิจัยเล็งเห็นความส้าคัญ ของเรือ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงด้าเนินการจัดท้าเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะเผยแพร่ความรู้เรื่อง เรือจ้าลองที่ใช้ใบพาย ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ให้กับผู้ที่สนใจ และนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยท้าการวิจัยศึกษา ชนิดเรือพาย อันได้แก่ เรือส้าปั้น เป็นกรณีศึกษา

อ่านเพิ่มเติมจากงานวิจัย

อ่านสารคดี และสื่ออนไลน์เพิ่มเติม 

 

 

พาล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวน้ำ และสนุกกับการทอดแหจับปลา ณ อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา ชวนชิมอาหารโบราณสูตรการถนอมอาหารแบบชาวกรุงเก่า "เมนูปลาร้าสับ"

พาล่องเรือชมวิถีชีวิตชาวน้ำ และสนุกกับการทอดแหจับปลา ณ อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา

อาหารเลิศรส "ปลาร้าสับ" ที่บางซ้ายอยุธยา

 




ผลงานเชิงประจักษ์พัฒนาการอ่านเพื่อชีวิตและสังคม

หลายชีวิต ละม่อม ห้องเรียนภาษาไทยออนไลน์ article
สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า ผลงานดีเด่นเชิงประจักษ์
สารคดี "ต้นกำเนิดแม่น้ำชี" article
อ่านเพื่อสร้างสรรค์"นิทานบันเทิงไทยถิ่นอยุธยา" article
ราโชมอน
พระมหากษัตริย์ยอดกตัญญู
ว.13ปี2556 และเพิ่มเติมช่องทางพิเศษ ว.1 ปี2559 ผลงานดีเด่นเชิงประจักษ์ article



Copyright © 2005 All Rights Reserved. ครูภาษาไทยดีเด่น 2540 ครูต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ 2545 (Teacher Award)กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลคุรุสดุดี 2552
ร้านหนังสือ"บ้านครู"  ศูนย์รวมพลังแห่งปัญญา แหล่งศึกษา ค้นคว้า แนะนำหนังสือดีเด่น ควรอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
www.kruthai40.com จัดทำโดย นายสุรินทร์ ยิ่งนึก ครูต้นแบบเครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 ครูภาษาไทยดีเด่น รางวัลคุรุสดุดี คุรุสภา surinkruthai@gmail.com