
เรื่อง อันของสูงแม้ปองต้องจิต
บทพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าเช่น ยกฐานะโรงเรียนมหาดเล็กหลวงขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งธนาคารออมสิน ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พระราชบัญญัติขนานนามสกุล ตั้งกองเสื้อป่าและลูกเสือเป็นต้นทรงเป็นทั้งปราชญ์และจินตกวี เชี่ยวชาญทั้งด้านอักษรศาสตร์ และโบราณคดีทรงพระราชนิพนธ์ทั้ง ร้อยแก้ว และร้อยกรอง ทรงใช้นามแฝงต่าง ๆ เช่น อัศวพาหุ รามจิตติ ศรีอยุธยา พันแหลม นายแก้วนายขวัญ เป็นต้น ชาวไทยได้ถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า
ที่มาของเรื่อง
เรื่องนี้ เป็นตอนหนึ่งในพระราชนิพนธ์ บทละคร เรื่อง ท้าวแสนปม ซึ่งรัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ขณะเสด็จกลับจากทอดพระเนตรเจดีย์ยุทธหัตถีที่จังหวัดสุพรรณบุรี (๒๙ มกราคม – ๒๙ มีนาคม ๒๔๕๖ )
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อใช้เป็นบทละคร แสดงตำนานเมืองอู่ทอง และประวัติของพระเจ้าอู่ทองปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา
รูปแบบงานประพันธ์
กลอนบทละคร
เนื้อเรื่องย่อ
กล่าวถึงสารหรือจดหมายของนางอุษาพระธิดาเมืองไตรตรึงษ์ซึ่งเขียนใส่ห่อหมาก ตอบท้าวแสนปมซึ่งเป็นพระโอรสพระเจ้ากรุงศรีวิไชย คือพระชินเสน ปลอมตัวมา นางเขียนมีใจความว่า ถ้าท้าวแสนปมปรารถนาที่จะได้ของมีค่าจะต้องใช้ความพยายามใฝ่แสวงหา ไม่ควรจะรอโอกาสให้สิ่งนั้นมาหาเอง เปรียบได้กับดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม แม้จะไกลเพียงใด แมลงภู่ ผึ้งก็บินมาดมดอมดอกไม้นั้น
.gif)
เรื่อง อันของสูงแม้ปองต้องจิต
๑. ชวด ผิดหวัง ไม่ได้ดังหวัง อด ไม่ได้รับ
๒. ลักษณ์ จดหมาย
๓. ภุมริน แมลงภู่ ผึ่ง
๔. บุปผชาติ ดอกไม้
๕. สุมาลี ดอกไม้
๖. ของสูง สิ่งที่มีค่ามาก เช่น หญิงสูงศักดิ์
๗. ของตลาด สิ่งที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไป เช่น หญิงธรรมดาทั่ว ๆ ไป
๘. แก้ว หรือ มณี ในกลอนบทนี้ หมายถึง หญิงที่มีค่าสูง แต่อาจ
หมายถึง สิ่งของที่มีค่าอื่น ๆ อีกก็ได้ เช่น ม้าแก้ว
ช้างแก้ว ขุนคลังแก้ว หรือ แก้ว 3 ประการ คือ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
๙. โลด โผน โจน
.gif)
|