เรื่อง สามก๊ก ยอดความเรียงประเภทนิทาน ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า
ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
ประวัติและผลงาน
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทรฦาชัย ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ท่านได้รับราชการเป็นหลวงสรวิชิตแล้วไปเป็นนายด่านเมืองอุทัยธานี ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เลื่อนเป็นพระยาพิพัฒนโกศา และต่อมาได้เป็นเจ้าพระยาพระคลังและถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘
เจ้าพระยาพระคลังเป็นกวีเอกคนหนึ่งของไทย มีความสามารถทั้งในการแต่งคำประพันธ์ร้อยแก้วและร้อยกรอง ผลงานที่สำคัญได้แก่ ราชาธิราช สามก๊ก ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ที่มีชื่อเสียงมาก คือ กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี บทมโหรีเรื่องกากี ลิลิตเพชรมงกุฎ ลิลิตศรีวิชัยชาดก ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง และอิเหนาคำฉันท์
ที่มาของเรื่อง
คัดมาจากหนังสือ เรื่องสามก๊ก ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ ๓๗ (ฉบับราชบัณฑิตยสภาชำระ ) เรื่อง สามก๊ก ไม่ใช่พงศาวดาร เป็นเรื่องแต่งเหมือนนิทาน โดยนักปราชญ์จีนผู้หนึ่งคือ ล่อกวนตง จับความมาจากพงศาวดารจีนแล้วแต่งขึ้นเพื่อให้เป็นตำราพิชัยสงคราม เรื่องสามก๊กได้รับการยกย่องมากในประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ ได้มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ถึง ๑๐ ภาษา ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ให้เป็นยอดของนิทานร้อยแก้วในสมัยก่อนหนังสือสามก๊กจะใช้เป็นแบบฝึกหัดเขียนเรียงความ เพราะถือว่า เป็นภาษาความเรียงที่กระชับและสละสลวยที่สุด
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
๑. เพื่อสนองพระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
๒. เพื่อใช้เป็นตำราพิชัยสงคราม ให้ความรู้เกี่ยวกับอุบายทางการเมืองและการสงคราม
ลักษณะคำประพันธ์
ร้อยแก้ว ประเภทความเรียงเชิงนิทาน โดยแปลจากภาษาจีน เป็นภาษาไทยแล้วเรียบเรียงเป็นถ้อยคำสำนวนไทยอย่างสละสลวย
เรื่องย่อ
สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า
ตอนที่ ๑
*สื่อวีดีทัศน์นำเรื่อง จากงานวิจัยและพัฒนา ปี ๒๕๓๙
ตอนที่ ๒
*สื่อวีดีทัศน์นำเรื่อง จากงานวิจัยและพัฒนา ปี ๒๕๓๙
คำบรรยายตามโครงเรื่อง (เขียนบท ลำดับภาพ บรรยาย
โดย ครูสุรินทร์ ยิ่งนึก)
ตอนที่ ๑ ทหารของโจโฉติดตามขบวนอพยพของเล่าปี่ได้ทันและเข้าโจมตีจนทหารและ
ราษฎรล้มตายพลัดพราก ภรรยาและบุตรของเล่าปี่ก็หายไป จูล่งทหารเอกออก
ติดตามเพื่อช่วยชีวิตท่ามกลางข้าศึก เตียวหุยเข้าใจผิดคิดว่าจูล่งทรยศ ตามที่
ทหารมารายงาน เตียวหุยคุมทหารไปที่สะพานเตียงปันเกี้ยว และพบจูล่งนำนาง
กำฮูหยินมาส่ง เตียวหุยจึงเข้าใจการกระทำจูล่ง จูล่งกลับไปค้นหานางบิฮูหยินและอาเต๊า
ต่อไปด้วยความรับผิดชอบในหน้าที่ และใช้ฝีมือในการสู้รบฆ่าทหารเอกทหารรอง
ของโจโฉได้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่สามารถช่วยชีวิตนางบิฮูหยินไว้ได้เพราะ
นางตัดสินใจกระโดดบ่อน้ำตาย เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่จูล่งในการนำอาเต๊าตีฝ่า
ทหารโจโฉออกไปด้วยบุญของอาเต๊าและฝีมือการต่อสู้ของจูล่ง ซึ่งทำให้โจโฉสั่ง
ไม่ให้ยิงเกาทัณฑ์เพราะต้องการจับเป็น ................
ตอนที่ ๒ จูล่งนำอาเต๊าตีฝ่าทหารโจโฉออกไป ด้วยบุญของอาเต๊าและฝีมือ
การต่อสู้ของจูล่ง ซึ่งทำให้โจโฉสั่งไม่ให้ยิงเกาทัณฑ์เพราะต้องการจับเป็น จูล่งต่อสู้
จนเกือบหมดแรง และควบม้าหนีไปที่สะพานให้เตียวหุยช่วยรับข้าศึก ทหารโจโฉ
ไม่กล้าติดตามเพราะกลัว กลอุบายของขงเบ้งซุ่มทหารไว้ แต่ความจริงเป็นกลอุบาย
ของเตียวหุยที่สั่งให้ทหารผูกกิ่งไม้ไว้ที่หางม้าแล้วให้วิ่งไปมาจนฝุ่นตลบ จูล่งจึงนำอาเต๊า
ไปมอบให้เล่าปี่โดยปลอดภัย
แต่ในที่สุดเตียวหุยก็ชักสะพานแล้วนำทหารกลับไปรายงานเล่าปี่ โจโฉจึงรู้ว่าไม่มี
กำลังทหารซุ่มอยู่จริงและสั่งทหารรีบติดตามไป แต่เผอิญพบกวนอูนำทหารสวนทางมา
คราวนี้โจโฉคิดแน่ใจว่าเป็นอุบายของขงเบ้งจริง กลัวจะเสียทีแก่ข้าศึกจึงสั่งทหาร
ถอยกลับ ทำให้เล่าปี่รอดพ้นอันตรายได้พบกับ กวนอู เล่ากี๋ ขงเบ้งและซุนเขียน
ยกกำลังทหารมาช่วย ขงเบ้งจึงคิดวางแผนการสู้รบต่อไป .............
|
สามก๊ก ตอน จูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า
๑. เกาทัณฑ์ ธนู
๒. อู่ เปล
๓. พนัง เครื่องกำบัง
๔. น้ำครั่ง น้ำยางเหนียวที่ถ่ายออกมาจากตัวครั่ง
๕. สัปทน ร่มผ้า หรือแพรสีแดงมีคันยาวเป็นเครื่องยศสำหรับ
ขุนนางกั้น
๖. กระบี่ มีดรูปดาบ มีฝัก มีด้ามถือมีโกร่ง
๗. จักแหล่น เกือบจะ จวนเจียน
๘. ภูมิฐาน สง่าผ่าเผย
๙. เกราะ เครื่องสวมใส่ร่างกายป้องกันอาวุธ
๑๐. ทวน อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็ก เบากว่า
ด้ามยาว
๑๑. หนูติดจั่น จนปัญญาหาทางออกไม่ได้
๑๒. ตัวนั้นโทรมไปด้วยโลหิต เนื้อตัวเปรอะเปื้อนเลือด
๑๓. ปลาขังอยู่ในถัง เสือตกอยู่ในหลุม เมื่อมีโอกาสก็ควรจะรีบจัดการ ถ้าปล่อยให้หนี
ไปได้ก็จะทำให้ยากต่อการจัดการในภายหลัง
|