
เรื่อง ณ หาดทรายชายทะเลแห่งหนึ่ง
ประวัติผู้แต่ง ชิต บุรทัต
นายชิต บุรทัต เกิดเมื่อ ๖ กันยายน ๒๔๓๕ มีนามสกุลเดิมว่า “ชวางกูร” ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “บุรทัต” เคยรับราชการตำรวจ และบวชเป็นสามเณร ซึ่งเป็นศิษย์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ทำงานในหน้าที่เลขานุการ และได้เรียนภาษาไทย ภาษาบาลีและภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ได้เริ่มเขียนบทร้อยกรองส่งไปลงพิมพ์ในวารสารสมัยนั้นหลายฉบับ และใช้นามปากกาว่า “เอกชน” นายชิต ได้ฝากผลงานด้านกวีนิพนธ์ไว้แก่ วงวรรณคดีไทยหลายชิ้น และงานที่เด่นที่สุด ได้รับคำยกย่องมากที่สุด คือ เรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ แต่งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ นายชิต บุรทัต ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ รวมอายุได้ ๕๐ ปี
ที่มาของเรื่อง
เรื่องนี้คัดมาจากหนังสือ “สวัสดีฤดูร้อน” จัดพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ นายชิต บุรทัต ใช้นามปากกาในการแต่งว่า “แมวคราว”
จุดมุ่งหมายในการแต่ง
เพื่อเสนอแนวคิดเกี่ยวกับทะเลอันเป็นทรัพยากรอันมีค่ายิ่งของไทย ว่าเป็นแหล่งเลี้ยงชีวิตคนไทยและผู้ประกอบอาชีพต่าง ๆ สมควรที่ชาวไทยจะอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ตลอดกาล
รูปแบบงานประพันธ์
ร้อยกรอง แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ชื่ออินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
เนื้อเรื่องย่อ
กล่าวถึงธรรมชาติชายทะเลเวลาเย็น กวีได้บรรยาย แสดงรายละเอียดของสิ่งต่างๆ เช่น ท้องฟ้า สายลม พุ่มไม้ นก ทะเล คลื่น กวียังได้ฝากความคิดเกี่ยวกับทะเลว่า เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีค่ายิ่งของไทย เพราะเป็นแหล่งประกอบอาชีพ เป็นแหล่งเลี้ยงชีวิตประชาชน คนไทยทุกคนควรช่วยกันสงวนรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป

เรื่อง ณ หาดทรายชายทะเลแห่งหนึ่ง
๑. สายัณห์ เวลาเย็น
๒. ทิฆัมพร ท้องฟ้า
๓. สุภะ , ศุภ ความงาม ความดีงาม ความเจริญ
๔. พิสุทธิ์ บริสุทธิ์ สะอาด
๕. รัตติ ราตรี กลางคืน
๖. ทุมะ พุ่มไม้
๗. เมือ กลับ
๘. สร เสียง
๙. สมรรถ สามารถ
๑๐. นยะ ความหมาย
๑๑. ลออ งาม
๑๒. มุข หน้า
๑๓. กล ราว เกือบ เหมือน
๑๔. อาจิณ เป็นปรกติ ติดเป็นนิสัย เสมอๆ
๑๕. เปล่าตา เห็นแต่ไม่รู้ความหมาย
๑๖. พินิจ พิจารณา ตรวจตรา
๑๗. ตื่นตน ตื่นตัว
๑๘. บำเพ็ญ ประพฤติ ปฏิบัติ
๑๙. อนุสรณ์ เครื่องระลึก ที่ระลึก
๒๐. อากร บ่อเกิด ที่เกิด
๒๑. ธน ทรัพย์สิน เงินทอง
๒๒. คลองเนตร คลองจักษุ แนวสายตาที่มองเห็น
๒๓. อาณา อาณาเขต
๒๔. ไพศาล กว้างใหญ่
๒๕. อนันต ไม่สิ้นสุด มากล้น
๒๖. วิหค นก
๒๗. ศศิธร ดวงจันทร์
๒๘. ตระการ งาม ประหลาด
๒๙. คระไล ไป
๓๐. สินธุ์ น้ำ ลำน้ำ แม่น้ำ

|