การพัฒนาหลักสูตรสู่ปฏิบัติการของครูในระบบการเรียนรู้
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) (๒๕๔๖ : อนุโมทนา) ได้กล่าวไว้ว่า “ความรู้ ความตื่น ความเบิกบานนั้น เป็นลักษณะ ๓ ด้าน ของแกนอันเดียวคือ ปัญญา ที่พัฒนาประณีตยิ่งขึ้นไปในจิตใจที่ดีงามสุขสดใสมีพลังเข้มแข็งด้วยสมาธิ โดยมีการสื่อสารและพฤติกรรมที่สัมพันธ์อย่างเกื้อกูลกับเพื่อนมนุษย์และสิ่งแวดล้อมเป็นฐานรองรับสนับสนุน ทำให้เกิดการพัฒนาที่การศึกษา ๓ ด้าน บูรณาการเป็นไตรสิกขา” จากข้อความดังกล่าวทำให้ครูผู้สอนเกิดแนวคิดที่จะเป็นพลังผลักดันให้ ผู้นำเสนอผลงานได้นำหลักไตรสิกขามาประยุกต์สู่กระบวนการเรียนรู้ ในระบบหลัก ได้แก่ ระบบการเรียนรู้ของโรงเรียน ทั้งนี้ได้รับขวัญกำลังใจจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียนโดยท่านผู้อำนวยการสถานศึกษา พิษณุ คงรุ่งเรือง ซึ่งท่านมีวัตถุประสงค์ที่จะนำหลักไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ของโรงเรียนบางซ้ายวิทยา เพื่อขับเคลื่อนโรงเรียนวิถีพุทธให้พัฒนาไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ผู้สอนจึงพยายามค้นคิดวิธีการสอนโดยยึดเอาความหมายของคำว่า ศีล สมาธิ และปัญญา นำมาประยุกต์ใช้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ที่ผู้สอนรับผิดชอบ แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้หลักไตรสิกขา จึงปรากฏขึ้นในหน่วยการเรียนรู้ ต่าง ๆ ทุกกลุ่มสาระ
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้หลักไตรสิกขา
ที่มาและความสำคัญ
โรงเรียนบางซ้ายวิทยา อำเภอบางซ้าย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต ๒ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โรงเรียนวิถีพุทธ ในปีการศึกษา ๒๕๔๖ เพื่อสร้างสรรค์นักเรียนให้ดำเนินวิถีชีวิตได้อย่าง “ปกติสุข” ในสังคม และเป็นโรงเรียนในโครงการ “ ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนในฝัน ”
ภายใต้วิสัยทัศน์
“โรงเรียนบางซ้ายวิทยาเป็นโรงเรียนในฝันที่สร้างสรรค์ผู้เรียนอย่างมีคุณภาพด้วยระบบการบริหารที่ดี มีคุณธรรมเด่น เน้นรักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมทันสมัยด้วยเทคโนโลยี ส่งเสริมศิลปะ ดนตรี และกีฬา สร้างศรัทธาให้ชุมชน และมีทักษะดำรงตนตามแนววิถีพุทธ”
พันธกิจของโรงเรียน
“พัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาเป็นโรงเรียนในฝันชั้นดี โดยใช้ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเป็นยุทธศาสตร์ในการปฏิรูปการศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ มีนิสัยใฝ่รู้ รักการอ่าน สามารถแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง คิดวิเคราะห์ มีความสามารถด้านเทคโนโลยี มีคุณธรรม รักษ์วัฒนธรรมไทยและมั่นใจในตนเอง”
หวังว่า แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้หลักไตรสิกขา ตามพุทธวิธีนี้ คงจะเป็นแนวทางหนึ่งสำหรับครูอาจารย์เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาของตนเองได้บ้างตามสมควร…
ได้ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของครู ตามทัศนะของคณะกรรมการการวางพื้นฐาน เพื่อปฏิรูปการศึกษา ได้กำหนดลักษณะและบทบาทที่พึงประสงค์ของครูไว้ ๑๓ ประการ คือ
๑.รู้จักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้า ปรับปรุงตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอมีความมั่น ใจและศรัทธาในอาชีพครู
๒. มีความคิดเป็นของตัวเอง กล้าแสดงออก เพื่อเผยแพร่ความคิดหรือความรู้ ใหม่ ๆ ต่อสาธารณชนหรือเพื่อพัฒนาชีวิตของตนโดยบริสุทธิ์ใจ
๓. ประพฤติและวางตนอยู่ในกรอบศีลธรรมจรรยา อันเป็นปทัสถานที่ยอมรับ กันทั่วไปในชุมชน
๔ ประกอบอาชีพเพื่อหารายได้เลี้ยงชีพพอสมควรแก่อันภาพมานะบากบั่น มัธยัสถ์ อดออม ไม่เห็นแก่ความเจริญทางวัตถุเกินกว่าคุณธรรม และจริยธรรม
๕. เปลี่ยนแปลงทบบาทจากการเป็นผู้บอก ผู้แสดงนำในทุกกรณีที่เกี่ยวกับ การเรียน มาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่ม สนับสนุนให้นักเรียนมีบทบาทสำคัญใน กระบวนการเรียนรู้ เป็นผู้ช่วยและผู้แนะให้นักเรียนรู้หลัก รู้จักวิธีการที่จะศึกษาค้น คว้าและเลือกทางของตนเองได้ โดยไม่มีการบังคับให้เชื่อตามครู เปิดโอกาสให้นักเรียน ได้ใช้ ความคิดอย่างมีอิสระและมีเหตุผล
๖. ฝึกนักเรียนให้มีความสามารถในการทำงานรวมกลุ่มรู้จักวิพากษ์วิจารณ์อดทน ต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์ ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพกฎของสังคม ในการอยู่ร่วมกัน รู้จักใช้สิทธิและพิทักษ์สิทธิ รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม รู้แพ้รู้ชนะ เคารพเสียงส่วนมากและรับฟังเสียงส่วนน้อย
๗. สนใจศึกษาธรรมชาติและความแตกต่างในตัวศิษย์แต่ละคน เพื่อนำมาเป็นข้อ สังเกตพิจารณาในการปฏิบัติตัวต่อศิษย์ ให้ความรู้ความสนใจ เอาใจใสอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ได้รับความสนิทสนมและความไว้วางใจจากศิษย์ เป็นการขจัดช่องว่างระหว่าง ครูกับศิษย์อย่างได้ผล
๘. พยายามค้นหาความสนใจ ความสามารถ และความถนัดของนักเรียน แต่ละคน เพื่อหาทางส่งเสริมแนะนำการเลือกวิชาและอาชีพแก่นักเรียนให้เหมาะสม
๙. ส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนฝักใฝ่ในคุณธรรม จริยธรรม โดยไม่หลงไหลในวัตถุ และเห็นคุณค่าของการรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของชาติ
๑๐. มีความรู้และความสนใจการเกษตรพอสมควร และสามารถมีส่วนร่วมในกิจ กรรมทางการเกษตรในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี โดยคำนึงว่า สังคมไทยส่วนใหญ่เป็นสัง คมเกษตรกรรม
๑๑. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามวิถีประชาธิปไตยแก่ชุมชน โดยประพฤติตนเป็น แบบอย่างและชักนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตามโอกาสอันเหมาะสม
๑๒. รักความยุติธรรม และกล้าหาญที่จะต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของสัง คมด้วยปัญญาและสติ ตามกระบวนการที่ถูกต้องเหมาะสม ตามครรลองของขนบธรรม เนียม ประเพณีวัฒนธรรม และสิทธิแห่งกฎหมาย
๑๓. หาโอกาสเข้ามีส่วนร่วมโดยเต็มใจในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ของท้องถิ่น อุทิศตน เป็นที่ปรึกษา หรือช่วยแก้ปัญหาของท้องถิ่น โดยเฉพาะในชนบทเพื่อสร้างสัมพันธภาพ และความเข้าใจอันดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในท้องถิ่น
( ที่มา : คณะกรรมการพื้นฐานการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม สมาคมผู้บริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย : ๒๕๑๘)