กระทรวงศึกษาธิการจะต้องสนับสนุนให้ครูได้ทำหน้าที่สอนเด็กอย่างเต็มที่ ไม่ต้องไปทำงานธุรการหรือภารกิจอื่น ด้วยโครงการคืนครูให้นักเรียน และการสร้างแรงจูงใจให้คนดี คนเก่งมาเป็นครู พร้อมทั้งสนับสนุนความก้าวหน้า สวัสดิการและวิทยฐานะของครู ด้วยการปรับปรุงเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะให้สอดคล้องกับคุณภาพการศึกษามากขึ้น แทนที่จะเน้นเรื่องการทำเอกสาร”
รมว.ศึกษาธิการ ต้องมองแล้วเข้าใจ เข้าถึงครู มุ่งพัฒนา บอกตรงๆไปยังเพื่อนครูทั่วประเทศด้วยว่า “สิ่งที่อยากเห็นและเชื่อว่าสังคมก็อยากเห็น คือ ครูเป็นครูมืออาชีพ มีอุดมการณ์ มีจิตวิญญาณความเป็นครู มีความเสียสละ และอุทิศตนเพื่อการศึกษา สอนศิษย์ให้มีความรู้ มีคุณธรรม และมีคุณภาพ”.......
เพื่อก้าวไปสู่เป้าหมายเดียวกันตามที่สังคมคาดหวังให้ “วิชาชีพครู” เป็นวิชาชีพชั้นสูง และเป็นกำลังสำคัญในการผลิตบุคลากรที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต
"...การพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญขึ้นนั้น จะต้องสร้างและ เสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลน บกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้น ไปอีกนั้นยากนักที่จะทำได้ ดังนั้น นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว จะ ต้องพยายามรักษาพื้นฐาน ให้มั่นคงไม่บกพร่องพร้อม ๆ กันไปด้วย..."
|
พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทาน
ปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย10 กรกฎาคม 2523
ครูเป็นบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการจัดการศึกษา การปฏิรูปการศึกษา จะสำเร็จได้ต้องอาศัยการปฏิรูปครูเป็นสำคัญ
ความสำคัญของครูปรากฏในพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ดังได้อัญเชิญมา ณ ที่นี้
“…หน้าที่ครูมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นหน้าที่ปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตใจของเยาวชน ผู้เป็นครูจึงจัดได้ว่าเป็นผู้มีบทบาทสำคัญมากในการสร้างสรรค์บันดาลอนาคตของชาติบ้านเมือง…”
พระบรมราโชวาทของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
๒๒ ตุลาคม ๒๕๑๓
ผู้เป็นครูจะต้องถือหน้าที่เป็นอันดับแรก คือสั่งสอน อบรมอนุชนให้ได้ผลแท้จริงทั้งในด้านวิชาความรู้ ทั้งในด้านจิตใจ และความประพฤติ ทั้งต้องคิดว่างานที่แต่ละคนกำลังทำอยู่นี้ คือ ความเป็นความตายของประเทศ เพราะอนุชนที่มีความรู้ มีความคิดเท่านั้นที่จะรักษาชาติบ้านเมืองไว้ได้
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
ในโอกาสที่นายบุญถิ่น อัตถากร
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการนำครูและนักเรียนในโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามจากภาคใต้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
วันจันทร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕
“ความเป็นครูเป็นของมีค่า ความเป็นครูหมายถึง การมีความรู้ดี ประกอบด้วยหลักวิชาที่ถูกต้องแน่นแฟ้น และแจ่มแจ้งแก่ใจ กอปรทั้งคุณความดี และความเอื้ออารีปรารถนาดีที่จะถ่ายทอด เผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีด้วย…”
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
๒๕ ตุลาคม ๒๕๒๒
“…แต่โบราณกาลมา ครูได้รับการเคารพกราบไหว้อย่างเต็มที่เพราะว่าเป็นผู้ที่ให้ความรู้มาปัจจุบันนี้ ครูส่วนมากถือการสอนเป็นอาชีพสำหรับหาเงินเพราะว่าถูกสถานการณ์ต่างๆ บังคับ คือ ต้องมีอยู่ มีกิน อันนี้ก็ขัดกัน แต่ถึงอย่างไร ก็ยังรู้สึกว่าครูจะสามารถสอนอย่างเก่าได้ โดยที่ครูต้องทำตัวให้เป็นครูที่น่าเคารพ แม้จะฝืดเคืองก็ยังกัดฟันสอน และแจกจ่ายความรู้ออกไปดังนี้ ก็จะได้ความเคารพจากลูกศิษย์และการสอนก็จะง่ายขึ้น แต่ว่าต้องวางตัวให้เป็นครูที่แท้ การฝึกหัดครูจะต้องย้ำในข้อที่ว่า ถ้าครูทำตัวเป็นครู จะทำให้นักเรียน ให้ลูกศิษย์นับถือเป็นทุน แต่ว่าถ้าทิ้งความเป็นครูโดยที่ท้อใจ โดยที่ยอมแพ้สถานการณ์ ก็ทำให้ลูกศิษย์มีความเคารพไม่ได้ และสอนไม่ได้…”
“…ขอให้ครูทุกคนพยายามรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของการเป็นครูแล้วถ่ายทอดให้แก่ครูที่ฝึกหัดอยู่เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้บ้านเมืองเป็นบ้านเมือง ให้ประชาชนพลเมืองเป็นคน คือ มีความรู้และมีจิตใจที่สูง ไม่เบียดเบียนกัน จะทำให้ส่วนรวมอยู่ได้เป็นปึกแผ่นนั้น ครูทั้งหลาย ก็นับว่าได้ทำหน้าที่อย่างกล้าหาญ อย่างฉลาด และจะเป็นความดีเป็นส่วนรวมของคณะครู…”
พระบรมราโชวาทของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
๒๔ กรกฎาคม ๒๕๑๓
