การพัฒนาสื่อ ICT การวิจัยและพัฒนาเพื่อจัดการเรียนรู้การอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
โครงการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อชีวิตและสังคมโดยใช้สื่อประสมออนไลน์
๒.๑. ประเด็นในการพัฒนา (สิ่งที่จะพัฒนา)
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยมีผู้สอนเป็นผู้สร้างบรรยากาศการเรียนรู้และเตรียมความพร้อม จัดกิจกรรมตามขั้นตอนกระบวนการ การจัดการเรียนการสอนในรายวิชา การอ่านเพื่อชีวิตและสังคม รหัสวิชา ท.๓๐๒๐๑ ( สาระเพิ่มเติม วิชาภาษาไทย )ที่ผู้สอนได้จัดไว้สำหรับผู้เรียนที่มีความสนใจเรียนด้านภาษาของโรงเรียนบางซ้ายวิทยา ห้อง ม. ๔/๒ จำนวน ๔๐ คน ได้เรียนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
สื่อประสมออนไลน์ที่ใช้เพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อชีวิตและสังคม ประกอบด้วย
๑. สื่อวีดิทัศน์ออนไลน์
๒. สื่อบทอ่านประกอบการเรียนรู้ออนไลน์
๓. คู่มือการอ่านสารคดีเพื่อชีวิตและสังคม
๔. คู่มือการอ่านบันเทิงคดีเพื่อชีวิตและสังคม
๒.๒ เป้าหมายในการพัฒนา(ระบุเป้าหมายเชิงปริมาณและหรือเป้าหมายเชิงคุณภาพ และระยะเวลาดำเนินการ)
๑. เป้าหมายเชิงปริมาณ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒ จำนวน ๔๐ คน ได้รับการพัฒนาจากการเรียนรายวิชา การอ่านเพื่อชีวิตและสังคม รหัสวิชา ท ๓๐๒๐๑ ในเวลา ๑๒ สัปดาห์ จำนวน ๔๘ คาบเรียน
เนื้อหาสาระที่ใช้สำหรับอ่านได้จากการสำรวจความสนใจครอบคลุมเนื้อเรื่อง บันเทิงคดี จำนวน ๒ เรื่อง และสารคดี จำนวน ๓ เรื่อง
๒. เป้าหมายเชิงคุณภาพ นักเรียนที่เรียนรายวิชา การอ่านเพื่อชีวิตและสังคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและมีทักษะการอ่านเพื่อชีวิตและสังคม จากเนื้อเรื่องที่อ่าน ประกอบด้วยมีความรู้ความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิต ประเมินค่า พร้อมทั้งริเริ่มสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆส่งต่อองค์ความรู้ สร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันต่อไป ครูจัดกิจกรรมโดยมีขั้นตอนกระบวนการปฏิบัติงานเพื่อการเรียนรู้และส่งต่อความรู้ในสื่อสังคมออนไลน์ นักเรียนมีผลการเรียนรู้ตามแนวทางการตรวจสอบและประเมินในข้อ ๒.๔ อยู่ในระดับดี ดีมาก และดีเยี่ยม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๕
๓. ระยะเวลาดำเนินการ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ( ๑ มิถุนายน ๒๕๕๙ – ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๙)
๒.๓. วิธีการพัฒนา ( แสดงถึงขั้นตอน/วิธีการพัฒนา)
๑. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๒. ศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับสื่อ นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษาประเภทสื่อประสมออนไลน์ การผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา สื่อบทอ่านประกอบการเรียนรู้ออนไลน์ การจัดทำคู่มือการอ่านเพื่อชีวิตและสังคม ๓. วิเคราะห์เนื้อหา/สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ที่ผ่านการสำรวจ ทดลองใช้มาแล้ว จากปีการศึกษา ๒๕๕๖ – ๒๕๕๘ จึงนำมาสร้างเป็นสื่อ นวัตกรรม อย่างเป็นระบบ จัดเป็นหมวดหมู่ในเว็บไซด์ www.kruthai40.com ที่ผู้สอนพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ๔. ลงมือสร้างหรือผลิตสื่อนวัตกรรม ตามหลักการในข้อ ๒ ๕. หาคุณภาพหรือประสิทธิภาพของสื่อ นวัตกรรม ๖. ปรับปรุงคุณภาพหรือพัฒนาคุณภาพสื่อ นวัตกรรมและนำไปใช้พัฒนาทักษะการอ่านเพื่อชีวิตและสังคมของนักเรียน เป็นเวลาในห้องเรียน ๔๘ คาบเรียน ๗. สรุปรายงานและเผยแพร่ผลงานในรูปแบบสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์และสื่อสังคมออนไลน์
๒.๔ แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางาน
๑. สังเกตจากความร่วมมือและความกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรมของนักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ ๒. ประเมินจากการตอบแบบสอบถามของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ๓. ประเมินจากรายงานผลการใช้สื่อประสมออนไลน์ พัฒนาทักษะการอ่านเพื่อชีวิตและสังคมโดยใช้แบบทดสอบ วัดความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า และตรวจสอบประเมินผลงานเชิงปริมาณและคุณภาพของนักเรียน ๔. ประเมินจากผลงานของนักเรียน ได้แก่ รายการสื่อที่นักเรียนนำเสนอในรูปแบบต่างๆในเว็บไซด์ www.kruthai40.com และสื่อสังคมออนไลน์ เกี่ยวกับ 2W1H ระบุประเภทสื่อที่ใช้ เนื้อหาที่นำเสนอ( What ) การแสดงความคิดเห็น( Why )และการเล่าประสบการณ์การนำไปใช้ประโยชน์( How ) ๕. สรุปรายงานโครงการพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อชีวิตและสังคมโดยใช้สื่อประสมออนไลน์ |