ReadyPlanet.com
dot
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบอัตโนมัติ :
bullet ลืมรหัสผ่าน
dot
สมาชิกใหม่ขณะนี้ คน
dot
dot
dot
dot
dot

dot
dot
dot
dot
dot
PLCนวัตกรรม
bulletระบบประกันคุณภาพออนไลน์
bulletfacebook.com - kruthai40
dot
dot


กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน และการเรียนรู้ ที่น่าสนใจ
มรดกไทย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
เครือข่ายกาญจนาภิเษก
เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ห้องเรียน DLIT
ห้องสมุดดิจิทัลวชิรญาณ
gotoknow:kruthai40


ความหมายและความสำคัญของ การอ่าน

 ความสำคัญของการอ่าน

        การอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนโต และจนกระทั่งถึงวัยชรา การอ่านทำให้รู้ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันเป็นโลกของข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทั่วโลก  ทำให้ผู้อ่านมีความสุข  มีความหวัง  และมีความอยากรู้อยากเห็น  อันเป็นความต้องการของมนุษย์ทุกคน  การอ่านมีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง คือ พัฒนาการศึกษา พัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้เป็นคนทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และมีความอยากรู้อยากเห็น การที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ต้องอาศัยประชาชนที่มีความรู้ความสามารถ ซึ่งความรู้ต่าง ๆ ก็ได้มาจากการอ่านนั่นเอง  (ฉวีวรรณ  คูหาภินนท์,  2542, หน้า  11)

ความหมายของการอ่าน

        การอ่าน  คือ  กระบวนการที่ผู้อ่านรับรู้สารซึ่งเป็นความรู้  ความคิด  ความรู้สึก  และ ความคิดเห็นที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร  การที่ผู้อ่านจะเข้าใจสารได้มากน้อยเพียงไร  ขึ้นอยู่กับประสบการณ์และความสามารถในการใช้ความคิด  (มณีรัตน์  สุกโชติรัตน์,  2547, หน้า  18) 

จุดมุ่งหมายของการอ่าน  (กระทรวงศึกษาธิการ,  2546, หน้า  9) 

        1.   อ่านเพื่อความรู้  ได้แก่  การอ่านจากหนังสือตำราทางวิชาการ  สารคดีทางวิชาการ การวิจัยประเภทต่าง ๆ หรือการอ่านผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ควรอ่านอย่างหลากหลาย  เพราะความรู้ในวิชาหนึ่ง อาจนำไปช่วยเสริมในอีกวิชาหนึ่งได้
        2.   อ่านเพื่อความบันเทิงได้แก่ การอ่านจากหนังสือประเภทสารคดีท่องเที่ยว นวนิยาย เรื่องสั้น  เรื่องแปล การ์ตูน บทประพันธ์  บทเพลง  แม้จะเป็นการอ่านเพื่อความบันเทิง แต่ผู้อ่านจะได้ความรู้ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องด้วย
        3.   อ่านเพื่อทราบข่าวสารความคิด  ได้แก่  การอ่านจากหนังสือประเภทบทความ บทวิจารณ์  ข่าว  รายงานการประชุม  ถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต้องเลือกอ่านให้หลากหลาย ไม่เจาะจงอ่านเฉพาะสื่อ ที่นำเสนอตรงกับความคิดของตน เพราะจะทำให้ได้มุมมอง ที่กว้างขึ้น ช่วยให้มีเหตุผลอื่น ๆ มาประกอบการวิจารณ์ วิเคราะห์ได้หลายมุมมองมากขึ้น
        4.   อ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะทางแต่ละครั้ง  ได้แก่  การอ่านที่ไม่ได้เจาะจง แต่เป็นการอ่านในเรื่องที่ตนสนใจ หรืออยากรู้  เช่น  การอ่านประกาศต่าง ๆ การอ่านโฆษณา  แผ่นพับ ประชาสัมพันธ์  สลากยา  ข่าวสังคม  ข่าวบันเทิง  ข่าวกีฬา   การอ่านประเภทนี้มักใช้เวลาไม่นาน ส่วนใหญ่เป็นการอ่านเพื่อให้ได้ความรู้และนำไปใช้  หรือนำไปเป็นหัวข้อสนทนา เชื่อมโยงการอ่าน สู่การวิเคราะห์  และคิดวิเคราะห์  บางครั้งก็อ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ประโยชน์ของการอ่าน (ศรีรัตน์  เจิงกลิ่นจันทร์,  2536, หน้า  6)

        1.   เป็นการสนองความต้องการของมนุษย์
        2.   ทำให้มนุษย์เกิดความรู้  ทักษะต่าง ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าทางวิชาชีพ 
        3.   ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์  ความเพลิดเพลินบันเทิงใจและเกิดความบันดาลใจ         
        4.   เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 
        5.   ทำให้มนุษย์ทันต่อเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของโลก   
        6.   เป็นการส่งเสริมสุขภาพของมนุษย์ 
        7.  ช่วยให้มนุษย์แก้ปัญหาสังคม  การเมือง  เศรษฐกิจและปัญหาส่วนตัว 

คุณสมบัติของนักอ่านที่ดี  (ศิวกานท์  ปทุมสูติ,  2540, หน้า  17-18)

        1.   มีนิสัยรักการอ่าน
        2.   มีจิตใจกว้างขวางพร้อมที่จะอ่านหนังสือที่ดีมีคุณค่าได้ทุกประเภท
        3.   มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านและเรื่องที่อ่าน
        4.   หมั่นหาเวลาหรือจัดเวลาสำหรับการอ่านให้กับตนเองทุกวันอย่างสม่ำเสมอ
        5.   เป็นคนรักหนังสือและแสวงหาหนังสือที่ดีอ่านอยู่เสมอ
        6.   มีความสามารถในการเลือกหนังสือที่ดีอ่าน
        7.   มีความอดทน  มีอารมณ์หรือมีสมาธิในการอ่าน
        8.   มีสุขภาพกาย  สุขภาพจิตที่สมบูรณ์
        9.   มีความเบิกบาน  แจ่มใส  และปลอดโปร่งอยู่เสมอ 
        10.   มีนิสัยใฝ่หาความรู้  ความคิด  และประสบการณ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
        11.   มีทักษะในการอ่านสรุปความ  วิเคราะห์ความ  และวินิจฉัยความ            
        12.   มีความคิดหรือมีวิจารณญาณที่ดีต่อเรื่องที่อ่านสามารถที่จะแยกแยะข้อเท็จจริง  ความถูกต้อง ความเหมาะสมต่าง ๆ และสามารถเลือกนำไปใช้ประโยชน์
        13.   มีนิสัยชอบจดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ที่พบในการอ่านและเห็นว่ามีคุณค่า
        14.   มีความจำดี  รู้จักหาวิธีช่วยจำ  และเพิ่มประสิทธิภาพของการจำ                 
        15.   มีนิสัยชอบเข้าร้านหนังสือและห้องสมุด
        16.   มีโอกาสหรือหาโอกาสพูดคุยกับผู้รักการอ่านด้วยกันอยู่เสมอ  เพื่อแลกเปลี่ยน ทรรศนะในการอ่านให้แตกฉานยิ่งขึ้น 
        17.   มีนิสัยหมั่นทบทวน  ติดตาม  ค้นคว้าเพิ่มเติม
 
วิธีอ่านหนังสือที่ดี

        วิธีการอ่านหนังสือที่ดี  มีขั้นตอน (ฉวีลักษณ์  บุณยะกาญจน, 2547,  หน้า  112-113)  ดังนี้

        1.   อ่านทั้งย่อหน้า  การฝึกอ่านทั้งย่อหน้าควรปฏิบัติ  ดังนี้
              1.1  พยายามจับจุดสำคัญของเนื้อหาในย่อหน้านั้น 
              1.2  พยายามถามตัวเองว่าสามารถตั้งชื่อเรื่องแต่ละย่อหน้าได้หรือไม่
              1.3  ดูรายละเอียดนั้นว่ามีอะไรบ้างที่สัมพันธ์กับจุดสำคัญ  มีอะไรบ้างที่ไม่เกี่ยวข้อง และอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง  เกี่ยวข้องกันอย่างไร
              1.4  แต่ละเรื่องติดต่อกันหรือไม่  และทราบได้อย่างไรว่าติดต่อกัน
              1.5.  วิธีการเขียนของผู้เขียนมีอะไรบ้างที่เสริมจุดสำคัญเข้ากับจุดย่อย

        2.   สำรวจตำรา  หรือหนังสือนั้น ๆ ก่อนที่จะทำการอ่านจริง  ดังนี้
              2.1  ดูสารบัญ  คำนำ  เพื่อทราบว่าในเล่มนั้น ๆ มีเนื้อหาอะไรบ้าง
              2.2  ตรวจดูบทที่จะอ่านว่ามีหัวข้ออะไรบ้าง
              2.3  อ่านคำนำของหนังสือและบทนำในแต่ละบทด้วย 
              2.4  พยายามตั้งคำถามแล้วค้นหาคำตอบอย่างคร่าว ๆ

        3.  อ่านเป็นบท ๆ 
             หลังจากได้ทำการสำรวจหนังสือแล้ว  ผู้อ่านจะได้ความรู้เกี่ยวกับผู้แต่ง  ภูมิหลัง ตลอดจนความมุ่งหมายในการแต่งหนังสือ  แล้วจึงเริ่มอ่านหนังสือเป็นบท ๆ โดยปฏิบัติ ดังนี้
             3.1  อ่านทีละบทโดยไม่หยุดจนจบบท  อาจจะหยุดเพื่อจดบันทึกใจความสำคัญบ้าง ในบางครั้งก็ได้
             3.2  อ่านบทเดิมอีกครั้ง  เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อและประโยคแรกของแต่ละย่อหน้า ถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจ  ก็อ่านข้อความในแต่ละย่อหน้าใหม่  ถ้าอ่านประโยคแรกแล้วจำได้ว่าม เนื้อความอะไรบ้างที่ผ่านไปยังย่อหน้าอื่นได้ 
             3.3  จดบันทึก  เพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้ตอนแรก

        4.  การอ่านแบบข้ามหรืออ่านแบบคร่าว ๆ
             การอ่านแบบข้ามหรืออ่านแบบคร่าว ๆ มิได้ให้ความเข้าใจอะไรมากนัก  จะใช้ได้ดี ต่อเมื่อ   
             4.1 ต้องการทราบข้อความบางอย่างเท่านั้น  เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ความหมายของ คำใดคำหนึ่ง
             4.2  ต้องการทราบว่าควรอ่านทั้งหมดหรือไม่   ช่วยให้ทราบคร่าว ๆ ว่าในแต่ละบท เป็นอย่างไร  เพราะเป็นการอ่านเฉพาะหัวข้อหรือข้อสรุปเท่านั้น

        5.  สะสมประสบการณ์และคำศัพท์ให้มากที่สุด 
             การที่ผู้อ่านจะเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดีนั้นจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์เดิมและความรู้ เกี่ยวกับคำศัพท์ที่สะสมไว้   เมื่ออ่านเรื่องใหม่จึงสามารถนำเอาความรู้เดิมมาถ่ายโยงสัมพันธ์กับความรู้ใหม่  เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเรื่องที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น การสะสมประสบการณ์ความรู้และคำศัพท์นั้นสามารถทำได้โดยการอ่าน ปทานุกรม พจนานุกรม  เพื่อรู้ศัพท์ต่าง ๆ และอ่านให้มาก ๆ เพื่อสะสมประสบการณ์และเพิ่มพูนความรู้อยู่ตลอดเวลา



พัฒนาการอ่านเพื่อชีวิตและสังคม

จากบทเพลงพระราชนิพนธ์สู่ผลงานศิลปะนำเสนอเพื่อพ่อ
หลายชีวิต กับพระพุทธศาสนา
หลายชีวิต: วรรณกรรมที่แนะนำสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา
ประเด็นคำถาม ที่ควรหาคำตอบ (สำหรับสมาชิก) article
ประกาศผลการสอบ นัดหมายนักเรียน
ชัยภูมิเมืองแห่งขุนเขา ต้นกำเนิดแม่น้ำชี
ฝากไว้คิดต่อจากการอ่าน
ประโยชน์การอ่านนวนิยาย
ผจญภัยในป่าดงพงพีกับนักประพันธ์ชั้นครู
การอ่านนวนิยาย
การอ่านสารคดี
การเลือกหนังสือที่น่าอ่าน
สี่แผ่นดิน article
การอ่านวิเคราะห์วรรณคดี วรรณกรรม
ผลการสอบวัดผลกลางภาค (สำหรับสมาชิก)



Copyright © 2005 All Rights Reserved. ครูภาษาไทยดีเด่น 2540 ครูต้นแบบกระบวนการเรียนรู้ 2545 (Teacher Award)กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลคุรุสดุดี 2552
ร้านหนังสือ"บ้านครู"  ศูนย์รวมพลังแห่งปัญญา แหล่งศึกษา ค้นคว้า แนะนำหนังสือดีเด่น ควรอ่านเพื่อชีวิตและสังคม
www.kruthai40.com จัดทำโดย นายสุรินทร์ ยิ่งนึก ครูต้นแบบเครือข่ายครูไทย เชิงประจักษ์ ว.13 ครูภาษาไทยดีเด่น รางวัลคุรุสดุดี คุรุสภา surinkruthai@gmail.com